หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


รางวัลธัญญารักษ์อวอร์ด ประจำปี 2565 พิมพ์
Friday, 01 December 2023
ชุมชน/หมู่บ้านที่มีผลงานด้านการดูแลช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติด

ชุมชนริมคลองประเวศฝั่งเหนือ
ชื่อผลงาน :
การดำเนินงานชุมชนร่วมใจระวังภัยยาเสพติด
การดำเนินงาน :
1. ประชุมกรรมการชุมชนเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาฯ การแก้ ไขปัญหายาเสพติด เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
2. กำหนดพื้นที่เป้าหมายในการดําเนินงานป้องกัน โดยวิเคราะห์จากสภาพญหาของพื้นที่เพื่อการแก้ ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
3. ประชุมประชาคมร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย เพื่อกำหนดกฎกติกา และบันทึกข้อตกลงชุมชนร่วมกันคิดวิเคราะห์ปัญหา วางแผนดําเนินงาน ประเมินผลและติดตามในการแก้ ไขปัญหาร่วมกัน
4. ลงพื้นที้เพื่อรณรงค์สร้างการรับรู้และสํารวจข้อมูลสภาพปัญหาในการป้องกันและการบําบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสารเสพติด ควบคู่กับการปราบปรามผู้ค้า
5. จัดกิจกรรมร่วมกันด้านการป้องกันปัญหายาเสพติด โดยการใช้กลวิธีและรูปแบบต่างๆ   5 ด้าน ด้านเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม ศาสนาจริยธรรม และประชาสังคมการมีส่วนร่วม
6. การคัดกรอง X-ay ทุกหลังคาเรือนร่วมกับตำรวจ ศูนย์บริการสาธารณสุขในการค้นหาผู้เสพผู้ติด เพื่อนําไปบำบัดรักษาและฟื้นฟู โดยกระบวนการชุมชนบําบัด (CBTx), ส่งบําบัดบ้านพิชิตใจ
7. ดําเนินงานด้านการปราบปรามผู้ค้าอย่างเข้มข้นโดยการร่วมกันสอดส่องดูแลและแจ้งเบาะแสให้กับสถานีตำรวจในพื้นที่
8. การใช้หลักศาสนากับการป้องกันยาเสพติด โดยการเรียนรู้หลักธรรมทางศาสนา
9. การจัดทำแผนพัฒนาชุมชนในการบูรณาการอย่างยั่งยืน การจัดโครงการรณรงค์เกี่ยวกับสารเสพติดร่วมกันการจัดกิจกรรมเพื่อลดปัญหายาเสพติด

ผลลัพธ์ : ผลสำเร็จของการขับเคลื่อนการดําเนินงานป้องกันและแก้ ไขปัญหายาเสพติด  ดังนี้
1. มีผู้เข้าร่วมโครงการบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ ใช้ยาเสพติดโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง (CBTx)  8 รายและสมัครใจบําบัดเพิ่มเติมอีก 2 ราย รวมเป็น 10 ราย และสามารถเลิกยาเสพติดได้  6 ราย อีก 4 ราย อยู่ระหว่างติดตามผลให้ลดการใช้ยาเสพติด สำหรับผู้เสพจากเดิมมี 15-20 ราย ปัจจุบันคงเหลืออยู่  2 ราย    ซึ่งอยู่ระหว่างการกำกับดูแลเพื่อนำสู่กระบวนการบําบัดต่อไป
2. ผู้ค้ารายย่อยหรือผู้เดินยาไม่พบในชุมชน
3. ได้ช่วยเหลือผู้ผ่านการบําบัดคืนคนดีสู่สังคมในด้านทุนประกอบอาชีพ จำนวน 3 คน
4. การประเมินสถานะยาเสพติดของชุมชนมีความสำเร็จด้านการดําเนินงานป้องกันและแก้ ไขปัญหายาและสารเสพติดในชุมชน ได้ถึง 90 %

สภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท
การดำเนินงาน :
1. ประชุมคณะทำงานระดับตำบล มีผู้นำชุมชน อสม. รพ.สต. อบต. โรงเรียน หมู่บ้านละ 25 – 30 คน จำนวน 9 หมู่บ้าน ร่วมจัดทำแนวทางการดำเนินงาน “ครอบครัวอบอุ่น ชุมชน ลด ละ เลิกยาเสพติด” เป้าหมายที่สำคัญ ต้องการให้สมาชิกในบ้าน อยู่พร้อมกัน กินข้าวร่วมกัน 1 มื้อต่อวัน พูดคุย ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว
2. อบรมทีม 39 อรหันต์  มีผู้นำชุมชน และ อสม. หมู่ละ 4-5 คน (9 หมู่บ้าน) ทำหน้าที่ คัดกรองกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ นำเข้าสู่กระบวนการบำบัดด้วยความสมัครใจ กรณีอาละวาด ประสานส่งต่อไปโรงพยาบาลเชียรใหญ่
3. กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มใช้สารเสพติด เมื่อสมัครใจบำบัด ส่งต่อไปยัง รพ.สต.เขาพระบาท เพื่อซักประวัติและหาข้อมูลหรือช่องว่างของปัญหา แล้วนำมาออกแบบแก้ไขเฉพาะรายร่วมกับครอบครัว
4. การสมัครใจบำบัด ต้องสมัครใจทั้งครอบครัว ตั้งแต่ผู้ป่วย พ่อ แม่ และคนในครอบครัว สมัครใจเพียงฝ่ายใด ฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะการบำบัดต้องช่วยกันทั้งครอบครัว และปิดช่องว่าง หรือรอยรั่วในครอบครัว
5. รพ.สต.เขาพระบาท ส่งต่อกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการบำบัดที่โรงพยาบาลเชียรใหญ่ ตามเกณฑ์ที่กำหนด
6. เมื่อบำบัดครั้งที่ 8 ทางโรงพยาบาลเชียรใหญ่ ส่งข้อมูลมายัง รพ.สต.เขาพระบาท เพื่อพูดคุย เลือกคู่บัดดี้ และเสริมอาชีพ ดังนี้  1) ฟื้นฟูสุขภาพโดยใช้สมุนไพรในครัวเรือนเพื่อประคบหรืออบสมุนไพร  2) ส่งเสริมอาชีพ โดยเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอาชีพต่างๆในชุมชน  3) นำเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ในหมู่บ้านหรือตำบลทุกครั้ง
7. กลุ่มที่สมัครใจบำบัด เมื่อส่งกลับมาที่ รพ.สต.เขาพระบาท จะให้เลือกคู่บัดดี้ ทำหน้าที่ในการดูแล ติดตามให้ความช่วยเหลือในชุมชน เป็นเวลา 1
8. สภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายทุกเดือน เพื่อพูดคุย เสริมอาชีพ ได้แก่ มอบเมล็ดผัก เพื่อปลูกผักสร้างรายได้  มอบกระชังปลา เลี้ยงปลาสร้างรายได้ โดยติดตามใกล้ชิดกับคู่บัดดี้
9. ทีมบัดดี้ ติดตามเยี่ยมเดือนละ 1 ครั้ง และประชุมร่วมกับสภาองค์กรชุมชนตำบลเขาพระบาท รพ.สต.เขาพระบาท และ อบต.เขาพระบาท รับทราบข้อมูล ร่วมแก้ปัญหา ร่วมกันปรับสภาพแวดล้อมในชุมชนให้ดีขึ้น
10.ทุกครอบครัวในพื้นที่ตำบลเขาพระบาท ต้องทำกิจกรรมครอบครัวอบอุ่น คือ 1).กินข้าวพร้อมกัน 1 มื้อต่อวัน 2).ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งครอบครัวสัปดาห์ละ 1 ครั้ง  3).อสม.ทำหน้าที่ติดตามกิจกรรมแต่ละบ้าน
11. กรณีพบผู้ที่สงสัยหรือเสพยา แจ้งข้อมูลผ่านระบบ Google form (ปกปิดข้อมูล)  มีผู้รับผิดชอบโดยตรง

ผลลัพธ์ :
1.มีข้อมูลครอบครัวอบอุ่น  ข้อมูลกลุ่มเสี่ยง  และข้อมูลผู้สมัครใจเข้ารับการบำบัด ปี 2562-2565
ครอบครัวอบอุ่น เป้า 1543 หลัง ข้อมูลกลุ่มเสี่ยง (คน) ข้อมูลกลุ่มสมัครใจบำบัด (คน)
พ.ศ. 2562 2563 2564 2565 พ.ศ. 2562 2563 2564 2565 พ.ศ. 2562 2563 2564 2565
อบอุ่น 870 935 963 1372 เสี่ยง 80 115 92 93 สมัครใจ 4 14 20 13
ร้อยละ 56.38 60.61 62.42 88.92 ยอมรับ 26 39 42 43 เลิกได้ 2 8 12 1
2.มีศูนย์ประสานงานทุกหมู่บ้าน “ศูนย์ประสานงานครอบครัวอบอุ่น” ตั้งอยู่ที่บ้าน อสม.หรือผู้ใหญ่บ้าน
3.ครอบครัวทุกหมู่บ้าน (ทั้งตำบล)มีความสุขเพิ่มขึ้น ปี พ.ศ.2562 = 8.02 คะแนน ปีพ.ศ.2565 = 8.51 คะแนน
4.กลุ่มเป้าหมายทุกราย ร้อยละ 100 ได้รับการเสริมอาชีพทั้งในระดับบุคคล และครอบครัว
5.เกิดธรรมนูญชุมชน “ครอบครัว หมู่บ้าน โรงเรียน ปลอดภัยยาเสพติด ตำบลเขาพระบาท” เพื่อขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ปี พ.ศ.2566 - 2570 โดยมีแนวทางการดำเนินงาน 7 ประเด็น

ชุมชนการเคหะนครลำปาง
การดำเนินการ :  
1. จัดกิจกรรมให้ชาวชุมชนมีส่วนร่วมสร้างความรัก ความสามัคคีอย่างต่อเนื่อง ด้วยคำขวัญที่มีความหมาย เช่น  “ร้อยพ่อพันธ์แม่แต่ชุมชนเรารักกัน” “ชุมชนเราไม่ทิ้งกัน” “กองทุนแม่แบ่งปันรักปันสุข” ในช่วงการแพร่ระบาด โรคโควิด,จัดตั้งธนาคารขยะเพื่อกองทุนสวัสดิการชุมชน
2. ได้รับการยกย่องให้เป็น “ชุมชนต้นแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพึ่งตนเอง” (ศาสตร์พระราชา)
3. ได้รับการยกย่อง ประกาศให้เป็น “ศูนย์การเรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดินระดับ (จังหวัดลำปาง)”และได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายกิจกรรมกองทุนแม่ฯเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับกองทุนต้นกล้าและศูนย์เรียนรู้กองทุนแม่ระดับอำเภอ
4. เป็นชุมชนนำร่องแห่งแรกของ จ.ลำปาง ที่ประสบความสำเร็จด้านการป้องกัน แก้ไข ปัญหายาเสพติด ประกาศให้เป็น ”ชุมชนสีขาว” ชุมชนปลอดยาเสพติด ภายใต้โครงการ”ชุมชนยั่งยืน” เมื่อปี ๒๕๖๖
5. จัดกิจกรรมที่ สนับสนุน ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เพื่อให้ห่างไกลจากยาเสพติด โดยมีการจัดตั้งทีมฟุตบอลเด็กและเยาวชน (ทีมเคหะยูไนเตด) ฝึกซ้อมและลงแข่งขัน ได้รับรางวัล สร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน มาโดยตลอด  

ผลลัพธ์ : 
 
1. ได้รับรางวัลชุมชนสดใสจิตใจงดงามจากการเคหะแห่งชาติ เมื่อปี 2563
2. ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ชุมชนน่าอยู่ หน้าบ้านน่ามอง ของเทศบาลนครลำปาง พ.ศ.2562 และ พ.ศ. 2563
3. ชุมชนได้เป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านบริหารจัดการขยะและการจัดการสิ่งแวดล้อม
4. ได้รับการประกาศให้เป็น “ชุมชนสีขาว” ปลอดยาเสพติด  เมื่อ พ.ศ. 2566

บ้านขุนโลก
ชื่อผลงาน : การแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางบ้านขุนโลก อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี

การดำเนินงาน :
1. การประชุมภาคีเครือข่าย
2. คืนข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันปัญหาการแก้ไขปัญหายาเสพติดของพื้นที่ กำหนดวิธีการดำเนินงานร่วมกัน
3. พัฒนาทักษะการสื่อสารของทีมงานพร้อมทำความเข้าใจกับบริบทของพื้นที่และบริบทของปัญหายาเสพติด
4. นำแนวทางจากข้อ 2 ลงสู่การปฏิบัติจริง (ประชาคมค้นหาผู้เสพ/ผู้ติด ทำความเข้าใจกับครอบครัวและตัวผู้เสพ/ผู้ติด นำสู่กระบวนการบำบัดรักษา 16-32 ครั้ง จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ให้ผู้เข้าสู่ระบวนการบำบัดเพื่อสร้างพยานของความดีที่ชุมชน ติดตามเยี่ยมระหว่างดำเนินการและหลังจบโปรแกรม (อย่างน้อย 4 ครั้ง) ฝึกอาชีพและสนับสนุนทุนประกอบอาชีพจากกองทุนแม่ของแผ่นดิน/ปปส.)
5. ประเมินผลและพัฒนา

ผลลัพธ์
1. ชุมชนมีความเข้าใจเรื่องสมองติดยา ว่าเป็นโรครื้อรังกำเริบได้เมื่อใกล้ชิดตัวกระตุ้น ดังนั้นต้องไม่มีผู้ค้าในชุมชน ไม่มีแหล่งมั่วสุม แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ชุมชนต้องให้อภัยให้โอกาสแก่ผู้หลงผิดเพราะเป็นลูกหลานของชุมชนคนขุนโลก
2. ผู้ผ่านกระบวนการบำบัด ร้อยละ 81.69 เปลี่ยนพฤติกรรมทำให้ได้รับการยอมรับจากครอบครัวและชุมชน กองทุนแม่ของแผ่นดิน สนับสนุนทุนสร้างอาชีพ มูลค่า คนละ 3,000 บาท
3. ผู้เสพ/ผู้ติดที่มีอาการทางจิต ได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่อง ร้อยละ 100 เพราะใช้บ้านเป็นหอผู้ป่วย พยาบาลที่ดำเนินงานชุมชนบำบัดเป็นหมอใหญ่และให้ผู้นำชุมชน อสม.เป็นผู้ช่วยหมอและให้ครอบครัวเป็นผู้ดูแลให้ได้รับการรักษาทางจิตอย่างต่อเนื่อง

ชุมชนริมคลองบางค้อ เขตจอมทอง
ชื่อผลงาน  : การแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน  

การดำเนินงาน :  
1.ให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและการป้องกันผ่านเสียงตามสาย หอกระจายข่าวในชุมชน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
2.การติดตามดูแลเยี่ยมบ้านผู้ผ่านการบำบัดรักษาและผู้ติดยาเสพติดและครอบครัวร่วมกับทีมสหวิชาชีพ คลินิกก้าวใหม่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วง นุชเนตร และการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง  ชุมชนคอยติดตามเตือนให้ไปตามนัดหมายในระหว่างคุมประพฤติและอยู่ในระหว่างการบำบัดรักษาที่ศูนย์บริการสาธารณสุข
3. เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่ชุมชนและภาคีเครือข่ายดำเนินการเกี่ยวกับยาเสพติดและจิตเวชยาเสพติด เช่น โครงการร่วมกับสำนักงานเขตจอมทอง โครงการศูนย์สุขภาพจิตเขตที่ 13 โครงการศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วงนุชเนตร
4. ทีมในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีปัญหาทางจิตเวชจะประสานงานกับศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วง นุชเนตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าช่วยเหลือส่งตัวผู้เสพยาเสพติดที่มีอาการก้าวร้าว
5. ผู้เสพยาเสพติดที่ยังไม่สามารถเลิกยาเสพติดได้แต่มีการใช้ยาเสพติดลดลงและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสามารถประกอบอาชีพดูแลครอบครัวได้
6. ผู้เสพยาเสพติดที่อยู่ในกระบวนการดูแลของสำนักงานคุมประพฤติเข้ารับการรายงานตัวที่สำนักงานคุมประพฤติอย่างต่อเนื่อง
7. ผู้เสพยาเสพติดที่ยังไม่สามารถเลิกยาได้ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชุมชน
8. การดูแลผู้เสพยาเสพติดที่มีอาการทางจิต โดยแจ้งเตือนให้เข้าไปบำบัดและประสานงานรับยาจิตเวช และนำส่งผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาอาการทางจิตอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ :  
1. ผู้เสพยาเสพติดจำนวน 8 คน อาการดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตอย่างปกติ ประกอบอาชีพได้ ใช้ยาเสพติดลดลง  
2. ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตได้รับการดูแลบำบัดรักษา จำนวน 2 ราย
3. ผู้เสพยาเสพติดในชุมชนลดลง ส่วนใหญ่ไม่ใช่คนในพื้นที่มาอาศัยเช่าห้องอยู่ไม่ใช่คนดั้งเดิมในชุมชน


แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 04 December 2023 )
ถัดไป >