หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


รางวัลธัญญารักษ์อวอร์ด ประจำปี 2565 พิมพ์
Friday, 01 December 2023
ด้านการดูแลช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดในชุมชน

ชื่อผลงาน  :  ส่งเสริมป้องกันให้เด็กและเยาวชนให้มีคุณธรรมและไม่ใช้ยาเสพติด

การดำเนินการ  :  
1. โครงการตลาดนัดคุณธรรมป้องกันยาเสพติด ไปตามตลาดนัดในชุมชน เวลา18.00-20.00น. นำอุปกรณ์สื่อสาร และเสื่อสำหรับประชาชนนั่ง  ฉายการ์ตูนธรรมะ  จัดกิจกรรมสวดมนต์ ไหว้พระร่วมกัน ให้ความรู้ในการปลูกจิตสำนึกทำความดี และมหันตภัยจากยาเสพติด สอบถามปัญหาชุมชนที่มีปัญหาติดยาเสพติด และนำเข้าสู่กระบวนการบำบัด
2. ตั้งแต่ พ.ศ.2560-ปัจจุบัน “โครงการธรรมะพาเพลิน”ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก ป.ป.ส. ภาค 3 ดำเนินการเป็นการจัดอบรมเยาวชนนักจัดรายการวิทยุ โดยประสานนักเรียนในเขตอำเภอคง ที่มีอายุตั้งแต่ 9-18 ปี ที่มีความสามารถด้านการพูดมาฝึกทักษะ การออกรายการวิทยุ อบรมโดยนักจัดรายการมืออาชีพ   ณ สถานีวิทยุเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาวัดบ้านหมัน(ชัยมงคล) คลื่น FM 88.25 MHz   
3. พ.ศ. 2564 เป็นที่ปรึกษาในการดูแลช่วยเหลือผู้มีปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านตามโครงการชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร ได้สนับสนุนอาชีพให้แก่ผู้ผ่านการบำบัดโดยพระครูโสภิต วีรากร ใช้งบประมาณส่วนตัวให้ตั้งกลุ่มเลี้ยงปลาในกระชัง(จำนวน 6 คน)  
4.พ.ศ. 2565 ร่วมดำเนินการกับคลินิกสีขาวโรงพยาบาลคงในการร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียนเมืองคง โดย เป็นพระวิทยากรนำคุณธรรมและจริยธรรมและสิ่งที่ดีงามอบรมให้นักเรียนทุกคนในโรงเรียน  และ 5. ร่วมกับโรงพยาบาลคง รับส่งต่อให้การฟื้นฟูฯ ผู้ติดยาเสพติดและฝึกอาชีพ

ผลลัพธ์  :  พ.ศ. 2562-2565  
1) นักเรียนนำความรู้ไปจัดรายการเสียงตามสายในโรงเรียน หัวข้อคุณธรรมประจำวัน เกิด รัตนเยาวชน คือ รักความจริง ไม่เบียดเบียน ละอายชั่ว รู้จักพอ มีน้ำใจ เป็นเยาวชนที่ดีและเก่ง และร่วมกันเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาที่จะเกิดในสถานศึกษา ในหมู่บ้าน ของตน  
2) ปรึกษาปัญหาลูกหลานติดยา และจูงใจเข้าสู่กระบวนการบำบัด  
3) นักเรียน 27 คน (ร้อยละ90) เว้นระยะการเสพได้นานขึ้น และนักเรียน 3 คน (ร้อยละ10) หยุดเสพได้ต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน  
4) ร่วมบำบัดฯกับโรงพยาบาลคง ผลการบำบัดครบเกณฑ์กำหนด  22 คน (ร้อยละ 100) ติดตามหลังการบำบัดครบ 1 ปี พบว่าไม่เสพยาเสพติดซ้ำ ร้อยละ 30 ลดปริมาณการเสพ ร้อยละ 70   
5) พ.ศ. 2564 ได้รับรางวัลการดำเนินการด้านการบำบัดฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในระดับยอดเยี่ยม จากผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นอกจากนี้เป็นที่ศึกษาดูงาน คณะทำงานยาเสพติดในชุมชน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ,อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ ,อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ คณะเจ้าหน้าที่ปกครอง(ปลัดอำเภอ/นายอำเภอ)จังหวัดขอนแก่น คณะนักศึกษาหลักสูตรโค้ชชุมชนจากชมรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นต้น

ชื่อผลงาน : รูปแบบวิธีการดูแลช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในชุมชน โดยการใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางให้ครอบครัว/ชุมชนมีส่วนร่วม (CBTx) ชุมชน ๑๑ ขั้นตอน

การดำเนินการ :  เมื่อพบครอบครัวที่มีคนในครอบครัวเสพยาเสพติดที่หาทางออกไม่ได้ จะแจ้งตำรวจก็กลัวจะถูกดำเนินคดี ทีมงานก็จะเริ่มเข้ามาร่วมประเมิน พร้อมประสานฝ่ายปกครอง สาธารณสุข และหากมีอาการทางจิต ฝ่ายปกครองจะดำเนินการควบคุมนำส่งโรงพยาบาลเพื่อคัดกรอง ถ้าเสพก็จะส่งเข้าบำบัดในค่ายบำบัดของอำเภอ 12 วัน หรือส่งให้สาธารณสุขนำเข้าระบบแมททริกโปรแกรม 16 ครั้ง เมื่อบำบัดครบโปรแกรม    ก็จะเป็นขั้นตอนส่งคืนสู่ครอบครัว/ชุมชนก็จะเป็นหน้าที่ของจิตอาสาเข้ามามีส่วนร่วมด้วยการติดตามให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง  ส่วนที่มีอาการทางจิตเสพยาเสพติดต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ทางโรงพยาบาลจะส่งต่อสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาเพื่อรักษาอาการทางจิต และผู้เสพที่เสพยาเสพติดต่อเนื่องหูแว่วพูดคนเดียวจะส่งต่อสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี เพื่อบำบัดยาเสพติดเป็นเวลา 4 เดือน โดยทีมงานจิตอาสาฯ เป็นผู้นำส่ง และเมื่อครบกำหนดส่งคืนคนดี ก็จะดำเนินการเตรียมชุมชนด้วยการจัดเวทีเชิญทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ตำรวจ สาธารณสุข ครู กศน.ในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล สังคมสงเคราะห์ ผู้นำชุมชนทีมงาน จิตอาสาชุมชน ครอบครัว เพื่อร่วมประเมินตัวผู้ป่วย ครอบครัว สังคม ชุมชน ว่าเขาจะกลับมาอยู่ในครอบครัว ชุมชน สังคมได้อย่างไรและจะหวนกลับไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดหรือไม่ และที่สำคัญต้องกินยาครอบครัวจะสามารถควบคุมการกินยาได้อย่างสม่ำเสมอหรือไม่ ต้องหาเจ้าภาพรับผิดชอบและต้องการที่จะเรียนต่อ กศน.ก็จะรับดูแล และหากต้องการทำงานเพื่อดูแลตนเองหรือต้องการประกอบอาชีพส่วนตัวและขาดทุน จิตอาสาชุมชนฯ  จะประสานสำนักงาน ปปส. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อของบประมาณมาสนับสนุน และทุกขั้นตอนต้องผ่านการติดตามประเมินจากชุดปฏิบัติงานอาสาสมัครจิตอาสาชุมชนรับรองว่าจะไม่หวนกลับไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอย่างยั่งยืน

ผลลัพธ์ :  ผู้ผ่านการบำบัดเลิกยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติด มีอาชีพ ค้าขาย หรือใช้ฝีมือ เช่น ขายอาหาร รับเหมาก่อสร้าง และ ซ่อมรถ ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า เข้าทำงานในสถานประกอบการ มีการฝึกอาชีพ และสามารถอยู่ในสังคมได้โดยไม่หวนกลับไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอย่างยั่งยืน

ชื่อผลงาน :  ร่วมโครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน ระยะที่ ๒ ร่วมกับ รพ.ไชยปราการและภาคีเครือข่าย จัดระบบการติดตามช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติด ตามนโยบาย Harm Reduction

การดำเนินการ  :   
1. ประชุมคณะกรรมการ คณะทำงาน ดำเนินงานด้านยาเสพติดในชุมชนเพื่อชี้แจงและหารือวิธีการดำเนินงาน กระบวนการบำบัดรักษายาเสพติดโดยชุมชนมีส่วนร่วม รวมทั้งกระบวนการติดตามช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดในชุมชน
2. บูรณาการงานยาเสพติดร่วมกับงานอื่นๆในชุมชน
3. เป็นวิทยากรในการอบรมตามโครงการฯ
4. การติดตามช่วยเหลือในชุมชน แบบบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายในชุมชน มีกระบวนการติดตามช่วยเหลือทั้งการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำแบบบูรณาการและการช่วยเหลือทางด้านอาชีพตามบริบทพื้นที่ จุดเน้นที่ทางศูนย์ drop  in  center  ใช้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้   
1. นำผู้ติด/ผู้เสพฝิ่นเข้ารับการบำบัดด้วยความสมัครใจ
2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ฝิ่น โดยใช้แนวคิด Harm Reduction
3.  ติดตามช่วยเหลือผู้เข้าบำบัด หรือ ผู้ผ่านการบำบัดฯพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและครอบครัว ร่วมกับติดตามของ รพ.สต. ตามแนวคิด 3 วิ  ดังนี้  1)  วิชาการ นำชีวิตห่างไกลยาเสพติด ให้ความรู้ด้านสุขภาพและเสริมทักษะต่างๆ และกิจกรรม 10 ชุดบริการ  2) วินัย นำชีวิตมีจุดหมาย กำหนดระเบียบบริการแบบยืดหยุ่น ค่อยเป็นค่อยไป และ 3) วิชาชีพ  นำชีวิตสุขสบาย การฝึกอาชีพ

ผลลัพธ์  :  พ.ศ. 2562-2565  1) ผู้ป่วยเลิกฝิ่นและสารเสพติดได้ 7-9% 2) ผู้ป่วยรับยาเมทาโดนต่อเนื่อง62-69%   3) ผู้ป่วยยาเสพติด SMIV ได้รับการประเมินช่วยเหลือตามระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง             71-94%   4) Retention rate 61-91%  5) ผู้ป่วยรับMMTมากกว่า 1ปี 75-85% และ 6) อัตราการคงอยู่ในศูนย์ Drop in center  อำเภอไชยปราการ 76-86% พบว่ามีผู้ป่วย  12 ราย สามารถเลิกยาเสพติดและเมทาโดนได้ 3-5 ปีและมีคุณภาพชีวิต นอกจากนี้มีขยายผลการดำเนินงานยาเสพติด ด้านการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติดในชุมชนลงสู่เครือข่าย Drop in Center แห่งอื่นๆและเป็นที่ศึกษาดูงานทั้งในและนอกประเทศ

ชื่อผลงาน :  ดูแลช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในชุมชน  โดยประชาสัมพันธ์ให้ชาวชุมชนได้รับรู้ถึงพิษภัยและการแพร่ระบาดของยาเสพติด พูดคุยกับครอบครัวเพื่อให้เกิดความไว้ใจ เป็นผู้จัดส่งผู้เสพเข้ากระบวนการบำบัดฟื้นฟู ติดตามเยี่ยมให้กำลังใจช่วยเหลือมอบถุงยังชีพ เพิ่มภูมิคุ้มกันทางใจโดยพูดคุยกับครอบครัวและผู้นำชุมชนให้กำลังใจผู้เสพ/ผู้ติดที่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเข้าอยู่ร่วมกับสังคมได้ ถ้าสามารถเลิกยาเสพติดได้ตำรวจได้จัดเตรียมสถานที่เพื่อทำมาหากินโดยมีโครงการโคกหนองนาโมเดล สน.เพชรเกษม

การดำเนินการ :  โครงการคนรุ่นใหม่ สมัครใจ พ้นภัยยาเสพติด  โดยมีกิจกรรม ดังนี้
1. ค้นหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด เข้าสู่การบำบัดฟื้นฟู โดยนำผู้เสพยาเสพติดเข้ารับการบำบัดที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 40 บางแค ปฏิบัติต่อผู้ติดยาเสพติดเป็นผู้ป่วยมิใช่อาชญากร และให้ผู้ต้องหาเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูโดยไม่ต้องรับโทษ      
2. การส่งต่อพื้นที่/การรักษาสภาพ/การติดตามประเมินผลโดยนำอุปกรณ์โซล่าเซลล์มอบให้ประธานชุมชนเพื่อติดตั้งในชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาให้ยั่งยืน  
3. การคัดกรอง/การรับรอง/การมอบบัตรพลเมืองสีขาว (สน.เพชรเกษม/กต.ตร.ที่ปรึกษา สน.ฯ/สำนักเขตบางแค/ศูนย์บริการสาธารณสุขบางแค)
4.จัดกิจกรรมชุมชน

ผลลัพธ์  :
คัดกรองผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด เข้าสู่กระบวนการบำบัด ตุลาคม 2564 – มีนาคม 2565  รวมทั้งสิ้น จำนวน 151 ราย  ประสานโรงเรียน ทั้งหมด 10 โรงเรียน  ผู้สมัครรับผิดชอบ 1 โรงเรียน คือ โรงเรียนปัญญาวรคุณ นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 1,721 ราย นำผู้เสพยาเสพติดสมัครใจ ส่งที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 40 บางแค จำนวน  1 ราย  พ.ศ. 2565 ร่วมกับชุดปฏิบัติติการชุมชนยั่งยืน พร้อมด้วยคณะกรรมการคุ้มฯ คณะกรรมการกลั่นกรองฯ   มีการคัดกรองชุมชนปู่เย็นย่าคำยังอยู่  ชุมชนงามปัญจะ และนำผู้เสพยาเสพติดสมัครใจส่งเข้าสู่กระบวนการบำบัดฟื้นฟู CBTx ที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 40 จำนวน 33 ราย และติดตามช่วยเหลือให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง

ชื่อผลงาน :  “การดูแลผู้ป่วยด้วยใจ” โดย 1. ค้นหา จูงใจ ผู้เสพยาเสพติดและส่งต่อมาบำบัดที่ศูนย์ฯ 29 ช่วงนุชเนตร 2. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยในระหว่างการบำบัดและบำบัดครบ และ 3. ร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ติดตามผู้ป่วยต่อเนื่อง ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ผู้ป่วยอาละวาด ก้าวร้าว ประสานงานตามแผนผัง

การดำเนินการ :
  “การดูแลผู้ป่วยด้วยใจ”อย่างใกล้ชิด โดยอาศัยหลักการความจริงใจและการดูแลอย่างต่อเนื่อง โดย 1. เข้าไปสร้างความเข้าใจและความไว้วางใจกับผู้ป่วยและครอบครัวและให้กำลังใจ 2. สอบถามปัญหาและเสนอแนวทางการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องประสานหาถุงยังชีพ 3.กรณีมีปัญหาด้านอาชีพ  ประสานกับประสานงานกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการ หรือทีมงาน สส.ในพื้นที่ช่วยสนับสนุน 4. แนะนำอาชีพสำหรับผู้เสพยาเสพติดที่มีศักยภาพจำกัด และ5.ให้เบอร์ส่วนตัว เป็นเบอร์ติดต่อกรณีฉุกเฉิน  หากเกิดเหตุฉุกเฉินดำเนินการดังนี้ 1) แจ้งประธานชุมชนและพยาบาลศูนย์บริการสาธารณสุข 2) แจ้งสถานีตำรวจนครบาลบางขุนเทียน และ.แจ้งศูนย์ อปพร. เขตจอมทอง เพื่อส่งตัวเข้าบำบัดรักษาเมื่อจำหน่ายกลับสู่ชุมชนติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์:
จูงใจผู้เสพยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา 4 ราย  ช่วยเหลือด้านอาชีพ 8 ราย  ผู้ป่วยยาเสพติดที่อาละวาดในชุมชน ได้รับการส่งต่อ  3 ราย ติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ลดการใช้ยาเสพติดได้ มีอาชีพ สามารถดูแลตนเองได้ 7 ราย  ช่วยเหลือผู้ป่วยสุราที่มีภาวะทางจิต ให้ได้รับการรักษาและดูแลอย่างต่อเนื่องและติดตามเยี่ยมบ้านกับพยาบาลในชุมชนเครือข่าย 5 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนศิลปเดช ชุมชนนางนอง 2  สันติสุข ชุมชนเรือนไทยพัฒนา ชุมชนวัดหนัง และชุมชนภานุมาภรณ์


แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 04 December 2023 )
ถัดไป >