หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


รางวัลธัญญารักษ์อวอร์ด ประจำปี 2565 พิมพ์
Friday, 01 December 2023
ด้านการบริหารจัดการหรือพัฒนานโยบายการแก้ไขปัญหาผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด

ผลงาน:
1. การส่งเสริมระบบการจัดการด้านยาเสพติดในสถานประกอบกิจการ
2. สถานประกอบกิจการต้นแบบที่มีการบริหารจัดการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
3. กิจกรรมค้นหาผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดในสถานประกอบกิจการ
4. โครงการสถานประกอบการร่วมใจให้โอกาสผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดเพื่อคืนคนดีสู่สังคม
5. ขับเคลื่อนให้มีการจัดตั้งชมรม TO BE NUMBER ONE และศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE ในสถานประกอบกิจการ
6. นโยบาย “กสร.สีขาว ปลอดภัยยาเสพติด”

การดำเนินงาน/ผลลัพธ์ (2563 - 2565)
1. กำหนดนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแก่แรงงานในระบบ และนอกระบบ  ตามนโยบายของรัฐบาล “แรงงานไทยปลอดภัยยาเสพติด” โดยถ่ายทอดนโยบายให้หน่วยงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 86 หน่วยงาน ดำเนินการ
2. ส่งเสริมสถานประกอบกิจการภาคเอกชน นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐวิสาหกิจทั่วประเทศให้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมระบบการจัดการด้านยาเสพติดในสถานประกอบกิจการ ได้แก่ โรงงานสีขาว จำนวน 7,059 แห่ง และมาตรฐานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบกิจการ (มยส.) จำนวน 2,932 แห่งเพื่อให้แรงงานที่ทำงานอยู่ในประเทศไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีภูมิคุ้มกันยาเสพติด และสถานประกอบกิจการในประเทศไทยเป็นพื้นที่ปลอดภัยยาเสพติด ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลคือ “การแก้ไขปัญหายาเสพติดต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน”
3. ดำเนินกิจกรรมสถานประกอบกิจการต้นแบบที่มีการบริหารจัดการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จำนวน 10 แห่ง ณ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี
4. เสริมสร้างความร่วมมือกับสถานประกอบกิจการในการดำเนินการค้นหาผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด ในสถานประกอบกิจการ โดยดำเนินการในสถานประกอบกิจการแล้ว จำนวน ๖๕๓ แห่ง ลูกจ้าง ๕๓,๘๓๔ คน
5. ดำเนินโครงการสถานประกอบการร่วมใจให้โอกาสผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดเพื่อคืนคนดีสู่สังคม ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ในการให้โอกาสและให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้างที่เป็นผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาและส่งเสริมให้นายจ้างให้โอกาสแก่ลูกจ้างที่ผ่านการบำบัดรักษาแล้วรับกลับเข้าทำงานเพื่อคืนคนดีสู่สังคม จำนวน 173 แห่ง
6. กำกับ และติดตามการดำเนินงานด้านยาเสพติดของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนนายจ้าง ลูกจ้าง เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจในกลุ่มคนทำงานในสถานประกอบกิจการไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด โดยขับเคลื่อนให้มีการจัดตั้งชมรม TO BE NUMBER ONE จำนวน 390 แห่ง
7. กำกับให้ข้าราชการ และบุคลากรของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานปฏิบัติตนตามนโยบาย “กสร.สีขาว ปลอดภัยยาเสพติด” จำนวน 2,432 คน

ชื่อผลงาน : การพัฒนาระบบบริการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด จังหวัดเชียงใหม่
การดำเนินงาน

1. มอบนโยบายในการดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด และการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด แก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน เป็นประจำทุกปี
2. ขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านกลไกคณะกรรมการ 3 คณะ ได้แก่ 1. คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขายาและสารเสพติด 2. คณะทำงานมาตรการลดอันตรายจากยาเสพติด (Harm reduction) จังหวัดเชียงใหม่ และ 3 คณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
3. พัฒนาศักยภาพสถานพยาบาลให้สามารถจัดบริการให้สารทดแทนฝิ่น เฮโรอีน ด้วยเมทาโดน เพิ่มปีละ 1 แห่ง
4. บูรณาการการทำงานร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม ได้แก่ มูลนิธิโอโซน เชียงใหม่ (OZONE) เครือข่ายผู้ใช้ยาประเทศไทย (TDN) องค์กร Perfect life และมูลนิธิรักษ์ไทย
5. ดำเนินการจัดบริการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดด้านสุขภาพ พร้อมทั้งบันทึกการให้บริการในระบบ Hospital information system (HIS) และ Export ส่งเข้า Health Data Center (HDC)
6. กำกับติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องทุกไตรมาส
ผลลัพธ์ (เชิงปริมาณหรือคุณภาพ)
ผู้ป่วยยาเสพติดได้รับบริการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ไม่ว่าจะเป็นการได้รับความรู้และคำปรึกษาในเรื่องยาเสพติดเพื่อสร้างมุมมอง ความเชื่อใหม่ แก่ผู้ใช้ยาเสพติด สร้างความเชื่อมั่นในระบบบริการสุขภาพ การรักษาความลับ จึงมีผู้ป่วยเข้าสู่ระบบบริการจำนวนมากขึ้น รวมทั้งได้รับการคัดกรองสุขภาพที่จำเป็น ที่จะไม่เป็นอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเองและผู้อื่น รวมทั้งป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการตรวจหา HIV และวัณโรค  
จำนวนผู้ป่วยยาเสพติด ที่รับบำบัดฟื้นฟู โดยใช้สารทดแทนฝิ่น/เฮโรอีน (เมทาโดน) จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2561 - 2565
โรงพยาบาล
ปี 2561
ปี 2562
ปี 2563
ปี 2564
ปี 2565
โรงพยาบาลสะเมิง
4
18
75
101
175
โรงพยาบาลฮอด
-
23
99
154
249
โรงพยาบาลแม่วาง
-
-
51
94
117
โรงพยาบาลวัดจันทร์ฯ  
-
-
5
119
โรงพยาบาลสันป่าตอง
-
-
-
-
12

ผลการดำเนินงาน จัดบริการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2561 - 2565
การจัดบริการสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด
ปี 2561
ปี 2562
ปี 2563
ปี 2564
ปี 2565
ให้ความรู้/คำปรึกษา เรื่องยาเสพติด
2,401
3,625
4,011
4,212
4 , 413
ให้สารทดแทนฝิ่น/เฮโรอีน (เมทาโดน)
1,963
2,220
2,216
2,410
2 , 571
เฝ้าระวัง/คัดกรองสุขภาพจิต (จิตเวช)
1,988
3,063
3,142
2,953
2 , 447*
ให้คำปรึกษาและตรวจ HIV
235
208
257
174*
33*
ให้คำปรึกษาและตรวจ วัณโรค
111
154
230
104*
-
* ปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID -19 ทำให้มีข้อจำกัดในการรับบริการ

ชื่อผลงาน  : แผนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอนิคมคำสร้อย “ยุทธการนิคมร่มเย็น” ตั้งแต่ พ.ศ.2562-ปัจจุบัน ขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยผ่านการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) เน้นการอยู่เวรยาม การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ความเข้มแข็งของหมู่บ้าน กองทุนแม่ของแผ่นดิน หมู่บ้านดงเจริญ ม.12  ขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้แนวคิดการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ รสอ. (DHS)เป็นความร่วมมือทั้งหน่วยงานสาธารณสุข ส่วนราชการอื่นๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและภาคประชาชน

การดำเนินการ : พ.ศ.2559-2560 ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกับภาคเครือข่ายในเขตอ.ดอนตาล จ.มุกดาหารร่วมกับ สปป.ลาว  พ.ศ. 2562-เป็นต้นมา ยุทธศาสตร์ “นิคมยั่งยืน” ด้วย 5 ดี ได้แก่ มิติคนดี สุขภาพดี การศึกษาดี สิ่งแวดล้อมดี และรายได้ดี โดยการขับเคลื่อนทุกภาคีเครือข่าย จากหลายภาคส่วนมาร่วมมือร่วมใจ ร่วมคิดในการพัฒนา“โครงการพัฒนาเครือข่ายการบำบัดรักษายาเสพติดในชุมชน” พ.ศ.2564  ได้ประกาศนโยบาย “อำเภอนิคมคำสร้อยเมืองแห่ง TO BE NUMBER ONE “  มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่องและ “อำเภอนิคมคำสร้อย เมืองแห่งคุณธรรม ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท”

ผลลัพธ์ :
  พ.ศ.2562 ดำเนินงานพัฒนาเครือข่าย CBTx. เขตบริการสุขภาพที่ 7,9,10 เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านต้นแบบคือบ้านเรืองเจริญ  พ.ศ.2563-2564 มีการดำเนินต่อเนื่องในหมู่บ้านเรืองเจริญ ขยายเครือข่ายไปหมู่บ้านอื่น 6 หมู่บ้าน ใน 4 ตำบล อำเภอนิคมคำสร้อย และขยายเครือข่ายการดำเนินงานไปที่ ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จ.มุกดาหาร  พ.ศ.2565 มีการดำเนินงานในหมู่บ้านดงเจริญต่อเนื่องและขยายไปหมู่บ้านอื่น จำนวน 9 หมู่บ้าน และขยายเครือข่ายการดำเนินงานไปที่อำเภอดงหลวง  จ.มุกดาหาร ครบทั้ง 6 ตำบลโดยความร่วมมือของผู้สมัครและนายอำเภอดงหลวงพร้อมทั้งเครือข่าย  พ.ศ. 2559-2565 มีการนำผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาเพิ่มขึ้น และมีผลการบำบัด CBTx. อย่างต่อเนื่อง

ชื่อผลงาน : โครงการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยหมู่บ้าน/ชุมชนเป็นศูนย์กลาง (Community Based Treatment and Care : CBTx)    
การดำเนินงาน : การแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยกลไกของรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นไปได้ยาก ประชาชนในพื้นที่จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน จะต้องเป็นกำลังสำคัญที่จะทำให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดเกิดประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน ดังนั้น การดำเนินกิจกรรม จึงเน้นการสร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากปัญหายาเสพติดในสังคม สร้างความมั่นคง ปลอดภัย  และลดความเดือดร้อนของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน โดยอาศัยแนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยหลัก กล่าวคือคนในชุมชนต้องมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาของตนเอง โดยมีหน่วยงานราชการเข้าไปดำเนินการให้ชาวบ้านตระหนักถึงปัญหาและความจำเป็นที่ต้องรวมพลังกัน จากนั้นนำเสนอกระบวนความคิด กระบวนวิธีอันมีเป้าหมายไปสู่การเป็นหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งที่สามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดรวมทั้งปัญหาต่าง ๆ ในหมู่บ้าน/ชุมชนได้ด้วยตัวเอง มากำหนดเป็นนโยบายการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดโดยหมู่บ้าน/ชุมชนมีส่วนร่วม (CBTx)  ซึ่งเป็นวิธีที่จะทำให้ผู้ติดยาเสพติดเข้าถึงบริการบำบัดรักษามากขึ้น มีส่วนร่วมในการบำบัดรักษา สามารถเข้าร่วมกิจกรรมที่ใกล้บ้าน ได้รับการยอมรับและสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชน    

ผลลัพธ์ : จากการดำเนินการโครงการบำบัดฟื้นฟูผู้ใช้ยาเสพติดโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม (CBTx) ในพื้นที่ ทั้ง 8 อำเภอ  ปี 2562 ดำเนินการได้ 79 คน จังหวัดลำพูนยังคงขับเคลื่อนขยายผลการดำเนินการตามโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 ได้ดำเนินโครงการชุมชนยั่งยืนโดย ศอ.ปส.จ.ลำพูน ได้บูรณาการร่วมกับสถานีตำรวจภูธรจังหวัดลำพูนและในพื้นที่ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ดำเนินการตามโครงการบำบัดฯ CBTx ภายใต้การบริหารสั่งการ มอบแนวทาง และวิธีดำเนินโครงการของ ศอ.ปส.จ.ลำพูน ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน เมษายน – กันยายน 2564 มีเป้าหมายการดำเนินการ จำนวน 12 หมู่บ้าน และมีผู้ผ่านการบำบัดตามโครงการฯ  77 คน และได้จัดระบบชุมชน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่หมู่บ้าน สามารถส่งต่อจนกลายเป็นชุมชนยั่งยืนในการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างแท้จริง โดยมีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น ที่บ้านกู่เส้า หมู่ที่ 2 ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมืองลำพูน  ซึ่งมีผลลัพธ์เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน โดยผู้นำชุมชนบ้านกู่เส้า ได้รับรางวัล กำนันแหนบทองคำประจำปี 2564 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บ้านกู่เส้า ได้รับรางวัล อสม.ดีเด่นด้านป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ระดับจังหวัด และผลการประเมินความพึงพอใจของประชาชนในหมู่บ้าน มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการและพร้อมให้ความร่วมมือกับทีมหมู่บ้านในการดำเนินการต่อในอนาคต

จากการนำนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดในรูปแบบของการบำบัดฯ (CBTx) เพื่อช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดให้ได้รับการดูแลตั้งแต่การป้องกัน การคัดกรอง จูงใจให้เข้ารับการบำบัดรักษาตามสภาพความรุนแรง การดูแลในชุมชน การสร้างปัจจัยเชิงบวกให้เกิดการยอมรับและให้โอกาส ในการเลิกยาเสพติด รวมทั้งการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด สามารถกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนได้อย่างปกติ เกิดการยอมรับ การให้โอกาสแก่ผู้ที่เคยหลงผิด ให้คืนสู่สังคมและเป็นการสร้างขวัญกำลังใจเสริมพลังใจ จิตสำนึกที่ดีให้แก่ผู้ผ่านการบำบัดให้คืนสู่สังคม

ชื่อผลงาน : 1. การป้องกันการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดในกลุ่มเยาวชนและวัยทำงาน 2.การลดจำนวนผู้เสพหน้าใหม่ 3.การป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด  และ 4. การสร้างโอกาสที่ดีให้กับผู้ด้อยโอกาส
การดำเนินการ  :  1.การป้องกันยาเสพติด ดังนี้ 1.1 การให้ความรู้ในสถานการศึกษาในระดับพื้นฐาน แต่ละกลุ่ม และ1.2 การแก้ไขปัญหายาเสพติดในครัวเรือนบูรณาการทุกภาคส่วน พัฒนาอาชีพเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว  2. การลดจำนวนผู้เสพหน้าใหม่  ดังนี้  2.1 สร้างเครือข่ายในการทำงานโดยเน้นพื้นที่ระดับหมู่บ้าน การรวบรวมข้อมูลกลุ่มเสี่ยง  2.2 สนับสนุนกิจกรรม TO BE NUMBER ONE  ในอำเภอ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องจัดเวทีสำหรับเด็กให้กล้าแสดงออก มีการสำรวจเด็กที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเปิดโอกาสได้แสดงออกอย่างเหมาะสม 2.3 เฝ้าระวัง คัดกรองใน โรงเรียนมัธยมและขยายโอกาสครบ 100%  ถ้าพบปัญหาการเสพติดส่งให้เข้ารับการรักษา  3.ป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด  โดยริเริ่มโครงการ “พิทักษ์มุกดานาคราช” เพื่อดูแลความเรียบร้อยชายฝั่งแม่น้ำโขงไม่ว่าปัญหายาเสพติดหรือการก่ออาชญากรรม  เป็นการจัดเวรยามโดยภาคประชาชน ทั้ง 43 หมู่บ้านโดยไม่มีสิ่งตอบแทนแม้เป็นหมู่บ้านรอบในจะต้องให้ความร่วมมือกับหมู่บ้านรอบนอก การดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนจนถึงปัจจุบัน  มีการรวบรวมข้อมูลประชากรที่อาศัยอยู่จริงและเป็นปัจจุบัน มีชุดเฝ้าระวังคนแปลกหน้าที่เข้ามาในพื้นที่ สำรวจพื้นที่ และ 4.การบำบัด จัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านสอดส่องเรื่องปัญหาความรุนแรง ความเดือดร้อนด้านต่างๆ และปัญหายาเสพติด การเข้าไปมีส่วนร่วมในการบำบัดรักษา ให้กำลังใจและติดตามความก้าวหน้าการเปลี่ยนแปลงของผู้เสพ/ผู้ติดเพื่อเป็นการสร้างโอกาสที่ดี

ผลลัพธ์ : โครงการ “พิทักษ์มุกดานาคราช” ทำให้สามารถจับยาเสพติดชุดใหญ่ได้หลายครั้ง ได้รับการชื่นชมจากกรมการปกครองและกองทัพภาคที่ 2  อำเภอหว้านใหญ่เป็นต้นแบบการดูแลตนเองที่เข้มแข็ง โครงการผู้ช่วยนายอำเภอคือจัดให้เด็กได้มีกิจกรรมและสามารถสื่อสารได้โดยตรงถึงนายอำเภอหากมีเรื่องราวต่างๆที่ต้องการสื่อสาร ยังช่วยเหลือดูแลเรื่องราวความรุนแรงต่างๆ จะช่วยชี้เป้าให้กับผู้ใหญ่เพื่อแก้ปัญหาความรุนแรง

ชื่อผลงาน  :  โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด มาตรการป้องกันให้สถานศึกษาปลอดจากยาเสพติดและอบายมุขครบวงจรโดยสร้างความตระหนักให้  ผู้บริหาร ครู บุคลากร  ผู้ปกครอง นักเรียน /นักศึกษา และชุมชน มีการมีส่วนร่วม ประกาศนโยบายรวมพลังเป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด ตั้งแต่ พ.ศ.2555– จนถึงปัจจุบัน  มีนโยบายให้วิทยาลัยฯ เป็นสถานศึกษาปลอดยาเสพติดสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนที่ 1  ด้านความมั่นคง  ด้วยมาตรการ 5 ด้าน ได้แก่ป้องกัน  ค้นหา บำบัดรักษา  เฝ้าระวังและบริหารจัดการ (ด้วยกระบวนการ PDCA)  มาบูรณาการกับโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMER ONE)  

การดำเนินการ   :  
1.  การรณรงค์ปลูกจิตสำนึกและสร้างกระแสนิยมที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กิจกรรม 15 ครั้ง/ปี  
2. การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้แก่เยาวชน โดยอบรมให้ความรู้          
3. การสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยกิจกรรมการสร้างเครือข่ายใหม่และพัฒนาเครือข่าย 6 ครั้ง/ปี   
4. ด้านการบำบัดรักษา  โครงการใครติดยายกมือขึ้น กลุ่มเสี่ยง ส่งเสริมทักษะชีวิต กลุ่มเสพ เข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคืนคนดีสู่สังคมในวิทยาลัยฯ  
5. ติดตามเฝ้าระวังต่อเนื่องโดยใช้กระบวนการเพื่อนช่วยเพื่อน ให้คำปรึกษาและเยี่ยมบ้าน นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้โอกาส นศ.กลุ่มเสพ จำนวน 6 คน เข้าร่วมกิจกรรมแข่งทักษะวิชาชีพ  ประกวดนวตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของสถานศึกษาเอกชน ระดับชาติ และจัดทำนวัตกรรมธนาคารความดี  TO BE NUMBER ONE

ผลลัพธ์ : พบว่า
1. ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดมีจำนวนลดลง
2. กลุ่มเสี่ยง / กลุ่มเสพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดีขึ้น (96 %)
3. การออกกลางคันของนักเรียน/นักศึกษาลดลง
4. วิทยาลัยฯเป็นสถานศึกษาที่ปลอดยาเสพติด และเป็นที่ยอมรับ  ซึ่ง พ.ศ. 2565 ได้รับเกียรติบัตรรางวัลพระราชทาน ชมรม TO BE NUMBER ONE  รักษามาตรฐานพร้อมเป็นต้นแบบระดับเพชร ปีที่  1 ระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ระดับภาคใต้   นอกจากนั้น มีนักเรียน/นักศึกษา ได้รับเกียรติบัตรรางวัลการแข่งขันทักษะ วิชาชีพพื้นฐาน 4 รางวัลการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ สถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนระดับชาติ เป็นแบบอย่างที่ดีไม่ยุ่งเกี่ยวยาเสพติด


แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 04 December 2023 )
ถัดไป >