หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


ยาหลอนประสาท พิมพ์
Wednesday, 27 October 2004
คำว่า "Hallucinogens" หมายความว่า สารที่ก่อให้เกิดอาการประสาทหลอน หรือ ประสาทสัมผัสผิดปกติไปจากเดิม มีสารหลายชนิดที่เมื่อใช้ไปในปริมาณที่เพียงพอ (psychoactive drugs) สามารถเป็นสาเหตุของหูแว่วหรือภาพหลอนได้ (auditory / visual hallucinations) อาการประสาทหลอนบางอย่างอาจเป็นอาการร่วมของภาวะสับสนเฉียบพลัน (delirium) และมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วยของการติดสินใจ การรับรู้เรื่องของเวลา สถานที่ บุคคล เชาว์ปัญญา ความจำ อารมณ์ และระดับของสติสัมปัญชัญญะ (เช่น โรคความผิดปกติทางสมอง) นอกจากนี้ภาวะสับสนเฉิยบพลัน (delirium) อาจเป็นผลจากอาการถอนยาหรือเลิกยา เช่น แอลกอฮอล์ ยานอนหลับ


อย่างไรก็ตามคำว่า "hallucinogen" โดยทั่วไปจะหมายถึง สารประกอบซึ่งเปลี่ยนแปลงภาวะการรู้ตัว (consciousness) โดยไม่ก่อให้เกิดภาวะสับสน (delirium) อาการง่วงซึมภาวะถูกกระตุ้นเชาว์ปัญญา และความจำเป็นอาการหลัก แต่คำจำกัดความนี้ไม่แน่นอนเนื่องจากสาร LSD (lysergic acid diethylamids) แท้ๆ ที่ก่อให้เกิดอาการประสาทหลอนชัดเจนพบได้น้อยแต่จะเกิดอาการ illusory phenomena มากกว่า ซึ่งผู้เสพจะมีประสาทรับรู้ที่แปลผลผิดไปจากสิ่งเร้าจริงๆ ในขณะที่อาการประสาทหลอน (hallucinations) นั้นจะไม่มีสิ่งเร้าจริงๆ แต่ผู้เสพจะเห็นภาพเอง

รูปแบบของการใช้ (Patterns of abuse)
ในปี ค.ศ.1960 LSD ถูกใช้ครั้งแรกโดยมีจุดสนใจในความสามารถที่มีผลต่อประสาทการรับรู้ (ภาพ เสียง รส และความรู้สึก) มีการคาดหวังต่อฤทธิ์ของยาและสิ่งแวดล้อมทั่วสถานที่ที่ใช้สาร LSD และมีทัศนคติที่ดีต่อการใช้สารนี้

ตัวอย่างทัศนคติต่อการใช้สาร LSD
* ช่วยผ่อนคลายและปราศจากความกังวลและความเครียด
* ปารศจากอารมณ์โกรธ และปราศจากการโต้เถียงกันของที่บ้าน โรงเรียน และที่ทำงาน
* ความรู้สึกเป็นอิสระนานหลายวัน

ตัวอย่างทัศนคติกับสิ่งแวดล้อมเมื่อใช้ LSD
* การมีเพื่อนสนิทที่ช่วยแนะนำประสบการณ์การใช้สาร
* การอยู่ในความเงียบ สบาย เหมือนนั่งบนพรมที่นุ่มและหนา
* การได้ยินเสียงที่ไพเราะหรือดนตรี
ในปัจจุบันผู้เสพใช้เมื่อเข้าฟังคอนเสิร์ต เต้นรำ หรือดูภาพยนตร์

การออกฤทธิ์ของยาหลอนประสาท
ยาหลอนประสาท เช่น LSD เคลือบกระดาษ เรียกว่า Stamp หรือ Magic paper แตะลิ้น เคี้ยวหรืออม ,ยาเค ซึ่งคือยา Ketamine ส่วนยาหลอนประสาทในเมืองไทย ได้แก่
เห็ดขี้ควายและลำโพง ใช้กิน เป็นต้น
    
- เสพแล้วทำให้เกิดจินตนาการ หลุดออกจากโลกแห่งความเป็นจริง
    
- เกิดภาพหลอนหูแว่ว หลงผิด ในขณะเสพทำให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นได้
    
- ใช้นานๆ เกิดการเสพย์ติด, มีอาการทางจิต หูแว่ว ประสาทหลอนได้

สามารถ Download ข้อมูลทั้งหมดได้ที่นี่

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 28 February 2005 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >