หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


สวยเลือกได้” ใช้ยาไอซ์ขาว ใส ผอมสวย จริงหรือ พิมพ์
Friday, 09 August 2013
          มหัตภัยยาบ้าไอซ์ที่ผู้หญิงอยากสวยควรรู้ยาไอซ์หรือเมธแอมเฟตามีนทีมีลักษณะเป็นเกล็ดขาวใสคล้ายน้ำแข็ง ที่ร้ายคือมีความเข้มข้นของเมธแอมเฟตามีนสูงถึง 98-100% มีความรุนแรงของการเสพติดและมีอันตรายสูงกว่ายาบ้า และโคเคน จากผลการศึกษาเชิงลึกของสถาบันธัญญารักษ์พบว่าผู้ป่วยชายที่เคยใช้ยาบ้ามาก่อนหันมาใช้ไอซ์เนื่องจากฤทธิ์แรงกว่า ส่วนผู้ป่วยหญิงที่เริ่มใช้ยาไอซ์เพราะคิดว่าใช้แล้วทำให้ผอมขาว ใส สวย แต่สุดท้ายทำให้เกิดอาการทางจิตทางประสาท เห็นภาพหลอนหลังใช้ยาเพียง 1 ปีแรก ร่วมกับความผอมจริง แต่ไม่ขาวไม่ใส แต่โทรม แห้งเหี่ยว หยาบกร้าน วงการแพทย์ผิวหนังยืนยันว่ายาไอซ์ไม่ได้มีผลต่อการมีผิวขาวใสแต่อย่างใด

          มีตัวอย่างของนักร้องและนักแต่งเพลงชื่อดังของเกาะอังกฤษ ซึ่งชีวิตของเธอรุ่งโรจ มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก แต่สุดท้ายชีวิตเปลี่ยนแปลง ตกต่ำไปอย่างคาดไม่ถึง ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าเกิดจากการใช้ยาเสพติด และชีวิตลงด้วยอายุเพียง 28 ปี

               ภาพวัยเด็ก                            ก่อนใช้ยาเสพติด

 

                                          หลังใช้ยาเสพติด

          สาว ๆ รุ่นใหม่ที่รักทุกท่าน ชีวิตเป็นของคุณ “สวยเลือกได้”อยากสวย สดใส ตามธรรมชาติ หรือจะเลือกใช้ยาไอซ์แล้วผอม โทรม กร้าน แถมด้วยอาการหูแว่ว ภาพหลอน
          การบำบัดรักษา “ไอซ์” หรือสารกระตุ้นประสาท ยังไม่มียารักษาเฉพาะ จะใช้การรักษาตามอาการ สิ่งที่สำคัญก็คือการฟื้นฟู เนื่องจากการเสพยาเป็นระยะเวลานานๆ สมองจะถูกทำลาย หรือ ที่เรียกว่า “สมองติดยา” ต้องใช้ระยะเวลาในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูอย่างน้อย 3–4 เดือน และติดตามผลหลังการบำบัดรักษา 1 ปี กำลังใจจากครอบครัวเป็นส่วนสำคัญในการช่วยเหลือให้ผู้เสพสามารถเลิกยาได้ดีที่สุด

 

         ภาพผู้เข้ารับการบำบัด “ไอซ์” ก่อนเข้ารับการบำบัดและในระหว่างการบำบัด

การบำบัดรักษา

กลุ่ม

การช่วยเหลือ

กลุ่มผู้ให้ความช่วยเหลือ / สถานที่

การติดตาม

-กลุ่มเริ่มใช้ -กลุ่มใช้เป็นครั้งคราว

-การให้คำแนะนำและความรู้( Brief Advice :BA ) (3-10 นาที) จำนวน 1-2 ครั้ง ใน 2 สัปดาห์

-การช่วยเหลือของครอบครัว โรงเรียน และชุมชน

-จนท.สธ./รพ.ทุกระดับ

ติดตาม 2-4 ครั้งใน 6 เดือน โดยผู้ให้การบำบัด อสม.และทีมติดตามในชุมชน ร่วมกับ จนท.สธ.

-กลุ่มเสพ

 

 

ขั้นที่ 1

-การให้การช่วยเหลือ Brief Intervention :BI ) (15-30 นาที)จำนวน 4 ครั้ง ใน 1 เดือน หรือค่ายบำบัด 9 วัน /วัดเป็นศูนย์สงเคราะห์/มัสยิด เมื่อครบ 1 เดือน ประเมินไม่ผ่าน ให้ส่งขั้นที่ 2

ขั้นที่ 2

- MI/CBT/Mod.Matrix ±Medication ห้วงเวลา 1-2 เดือน

-จนท.สธ./รพ.ทุกระดับ

-วิทยากร/ที่ค่าย,วัด,มัสยิด

 

 

 

-ทีมสหวิชาชีพ/รพช. รพท. รพศ.

 

ติดตาม 4-7 ครั้งใน 1 ปี โดยผู้ให้การบำบัด อสม.และทีมติดตามในชุมชน ร่วมกับ จนท.สธ.

-กลุ่มติด

-OPD. ( IOP . Matrix ,CBT )

- IPD. ( TC,FAST Model )

±Medication + Rehapbilitation (4 เดือน-1ปี)

ทีมสหวิชาชีพ/ที่ OPD,IPD รพ.สธ. ,รพ.เฉพาะทางสังกัดกรมการแพทย์,กรมสุขภาพจิต,จนท./ที่รร.วิวัฒน์พลเมือง  

-กลุ่มติดรุนแรง

-OPD. + Medication

-IPD.+ Medication

-Long Team Treatmant

ทีมสหวิชาชีพ/ที่ OPD,IPD รพ.สธ. ,รพ.เฉพาะทางสังกัดกรมการแพทย์,กรมสุขภาพจิต,รพ.สังกัดมหาวิทยาลัย

บำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง