หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


ประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยสุราด้วยแนวพุทธศาสนา พิมพ์
Wednesday, 28 July 2010
เรื่อง      ประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยสุราด้วยแนวพุทธศาสนา (The Effectiveness of Treatment Alcoholic Dependent Patient by Buddhism Disciplines
หน่วยงาน    งานการพยาบาลผู้ป่วยนอก กลุ่มภารกิจบริการวิชาการ สถาบันธัญญารักษ์
ปี        2550

บทคัดย่อ

    การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยด้วยแนวพุทธศาสนา ในผู้ป่วยสุราที่รับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยนอกของสถาบันธัญญารักษ์ มีกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (Experimental group) ซึ่งเป็นข้าราชการทหาร กรมสรรพาวุธ ทหารอากาศ จำนวน 34 ราย มาเข้าร่วมกิจกรรม การบำบัดรักษาเป็นระยะเวลา 1 ปี 4 เดือน ซึ่งกิจกรรมที่ใช้มีการประเมินระดับการติดสุรา และประเมินปัญหาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม โดยพยาบาลวิชาชีพและให้การรักษาทางด้านร่างกาย เพื่อให้สามารถหยุดดื่มสุราได้อย่างปลอดภัยพร้อมทั้งใช้แนวพุทธศาสนา เสริมสร้างทักษะการเลิกดื่มสุรา โดยจัดกิจกรรมบำบัดรักษา จำนวน 10 ครั้ง ในช่วงการบำบัดรักษา 4 เดือน และจัดกิจกรรมติดตามหลังจบโปรแกรมการบำบัดรักษา 7 ครั้ง ภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งกิจกรรมที่จัดให้ระหว่างการบำบัดรักษา 10 ครั้ง ได้แก่ การประเมินภาวะสุขภาพ การให้ความรู้เรื่องการเลิกสุรา การสวดมนต์ไหว้พระ การเดินจงกรม การนั่งสมาธิ และในครั้งสุดท้าย ได้นำกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมปฏิบัติปัสสนากรรมฐาน โดยใช้แนวสติปัฏฐาน 4 เป็นเวลา 8 วัน 7 คืน โดยมีพระวิปัสสนาจารย์ และพยาบาลวิชาชีพ ที่ผ่านการฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐานเป็นผู้ให้การดูแลตลอดการปฏิบัติและเมื่อครบ 4 เดือน มีการประเมินความสามารถในการควบคุมอารมณ์ พฤติกรรมการดื่มสุราและวางแผนการจัดกิจกรรมในการติดตามการรักษาอีก 7 ครั้งมนเวลา 1 ปี ซึ่งกิจกรรมในการติดตามได้แก่ การประเมินภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมการดื่มสุรามีการทบทวนเป้าหมายชีวิต การเสริมแรงจูงใจในการเลิกดื่มสุราอย่างต่อเนื่อง การให้คำปรึกษาการสวดมนต์ไหว้พระ การเดินจงกรมและการนั่งสมาธิ ซึ่งก้อนครบระยะการติดตามได้นำกลุ่มเป้าหมายเข้าปฏิบัติธรรมที่วัด เป็นเวลา 3 วัน ซึ่งเป็นการทบทวนการปฏิบัติธรรมกับการควบคุมตนเองไม่ให้กลับไปดื่มสุราซ้ำ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรกรมสำเร็จรูป และแจงความถี่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐานหาค่า T (T-test statistice)
ผลการวิจัยพบว่า
    1.  กลุ่มทดลองเป็นเพศชายร้อยละ 97.05 อายุเฉลี่ย 44 ปี รายได้เฉลี่ย 14,509 บาท ต่อเดือน มีการดื่มสุราอย่างเดียวร้อยละ 70.59 มีระยะเวลาการดื่มสุราเฉลี่ย 13.5 ปี มีระดับการติดสุรา (Alcohol dependent) ร้อยละ 76.47 ชนิดของสุราที่ดื่ม 40 ดีกรี ร้อยละ 57.1 และ 35 ดีกรี ร้อยละ 25.7
    2.  ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของผู้ป่วยสุราด่อนบำบัดรักษาและหลังการบำบัดรักษาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ (p-value=0.12)
    3.  เปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยสุราก่อนรับการบำบัดรักษา (x  =67.16) และหลังการบำบัดรักษา(x  =70.16) พบว่ามีความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value=0.046)
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >