หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


การศึกษาการตรวจแอลกอฮอล์จากน้ำลายเปรียบเทียบกับเลือด พิมพ์
Wednesday, 28 July 2010
เรื่อง    การศึกษาการตรวจแอลกอฮอล์จากน้ำลายเปรียบเทียบกับเลือด (Comparison of Specimens Saliva And Blood for Alcohol Detector)

นามผู้วิจัย     ศิวนารถ        เรียนลึก
                 บุณยานุช    อินทรสิทธิ์
                 นงเยาว์        พันธุ์แสง
                 เกศรินทร์    ฤกษ์สิบปี
ปี        2549

บทคัดย่อ
    ศึกษาเปรียบเทียบความไว (sensitivity) ความจำเพาะ (Specificity) ความถูกต้อง (accuracy) และความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของแอลกอฮอล์น้ำลายเปรียบเทียบกับเลือดที่ตรวจด้วยวิธี Gas Chromatography – Flame lonization (GC-FID) และวิธี enzyme alcohol dehydrogenase (ชุดตรวจแอลกอฮอล์สำเร็จรูป) โดยเก็บน้ำลายและทำการเจาะเลือดในผู้ป่วยสุราที่มีประวัติดื่มสุราภายใน 24 ชั่วโมงและเข้ามาบำบัดรักษาที่สถาบันธัญญารักษ์ จำนวน 95 ราย พบว่าตรวจแอลกอฮอล์น้ำลายวิธี GC-FID มีความไว, ความจำเพาะและ ความถูกต้องเท่ากับ 95-71%, 100% และ96.81% ตามลำดับ การตรวจแอลกอฮอล์น้ำลายด้วยวิธี GC-FID มีความสัมพันธ์กับการตรวจแอลกอฮอล์ในเลือดวิธี GC-FID ที่ระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหความสัมพันธ์ (Coefficient of correlation) 0.940 และregression y=11.57+1.1x เมื่อ y เท่ากับความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือด (mg/dl) ตรวจด้วยวิธี GC-FID แอลกอฮอล์น้ำลายที่ตรวจด้วยชุดตรวจสำเร็จรูป มีความไว, ความจำเพาะและ ความถูกต้องเท่ากับ 88.57%, 12.50% และ 69.15% ตามลำดับ จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่าการเก็บตัวอย่างน้ำลายเพ่อตรวจหาแอลกอฮอล์ด้วยวิธี GC-MS มีขั้นตอนวิธีง่าย ๆ รวดเร็ว ไม่ต้องอาศัยผู้ชำนาญ สามารถเก็บตัวอย่างได้ด้วยตนเอง ไม่มีความเจ็บปวด ได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยมากกว่าการเจาะเลือด สามารถนำไปตรวจบุคคลที่ดื่มสุราแต่ยังไม่มีอาการมึนเมา โดยไม่จำเป็นต้องตรวจจากเลือดอีก แต่ต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ และกลุ่มเหป้าหมายในการตรวจ หากนำไปยืนยันในกระบวนการยุติธรรม หรือรับรองตัวบุคคล ค่าความไวเพียง 95.71% ถือว่าไม่เพียงพอส่วนการตรวจแอลกอฮอล์ด้วยชุดตรวจสำเร็จรูป เป็นเทคนิคการตรวจที่ง่าย ๆ  รวดเร็ว ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้รับการตรวจนับว่าเป็นเทคนิคที่ดี หากได้รับการพัฒนา ให้ได้ผลการตรวจที่มีคใมจำเพาะและความถูกต้องสูงขึ้น
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >