หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


การพัฒนาโปแกรมความฉลาดทางอารมณ์ของผู้เข้ารับการบำบัดรักษา พิมพ์
Wednesday, 28 July 2010
เรื่อง    การพัฒนาโปแกรมความฉลาดทางอารมณ์ของผู้เข้ารับการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพแบบเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST Model)
ผู้วิจัย   นางสาวสุกุมา    แสงเดือนฉาย
          นางสำเนา    นิลบรรพ์
ปี    2546

บทคัดย่อ
    การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษา โดยใช้โปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ (FAST Model) ของผู้เข้ารับการบำบัดรักษา ในสถาบันยาเสพติดธัญญารักษ์ ซึ่งดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ 1. ระยะทดลองนำร่อง ในตึกโอปอ มีผู้เข้ารับการบำบัดรักษา จำนวน 24 คน เข้าร่วมโปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์และนำโปรแกรมพัฒนาปรับปรุงแก้ไข เพื่อนำไปทดลองต่อในระยะที่ 2 ระยะการทดลอง ในตึกทองเนื้อเก้า มีผู้เข้ารับการบำบัดรักษา จำนวน 14 คน เข้าร่วมโปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ ซึ่งพบว่าโปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ได้แล้ว จึงนำไปขยายผลในระยะที่ 3 ระยะขยายผล ในตึกพลอยรุ้ง มีผู้เข้ารับการบำบัดจำนวน 10 คน โดยมีการควบคุมตัวแปรที่มีผลกระทบต่อผลการวิจัย ได้แก่ คงเนื้อหาเดิม วิทยากรกลุ่มเดิม เพื่อเป็นการยืนยันผลของโปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ที่พัฒนาขึ้น
    -  รูปแบบโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้เข้ารับการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพแบบเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST Model) มีทั้งหมด 15 กิจกรรม ครอบคลุม 5 องค์ประกอบ 25 ปัจจัยย่อยตามแนวคิดทฤษฎีของโกลแมน (Gloeman, 1998a, 1998b) แต่ละกิจกรรม ใช้เวลากิจกรรมละ 1 – 1.30 ชั่วโมง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวัดผล ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์
    -  ผลการทดลอง พบว่า ในกลามทดลองตึกทองเนื้อเก้า มีความฉลาดทางอารมณ์ในภาพรวมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และมีความฉลาดทางอารมณ์ด้านทบทวนจิต ด้านสานเป้าหมาย ด้านสายใยรัก ด้านทักสังคม สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนความฉลาดทางอารมณ์ด้านคิดจัดการไม่มีความแตกต่างกัน ซึ่งเมื่อขยายผลในตึกพลอยรุ้ง พบว่า มีความฉลาดทางอารมณ์ในภาพรวมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองและมีความฉลาดทางอารมณ์ด้านทบทวนจิต ด้านคิดจัดการ ด้านสายใยรัก ด้านทักสังคมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนับสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนความฉลาดทางอารมณ์ด้านสานเป้าหมาย ไม่มีความแตกต่างกัน
    จากผลการวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ พบว่า ความฉลาดทางอารมณ์ด้านคิดจัดการและด้านสายเป้าหมาย มีผลการทดลองที่แตกต่างกันไป เมื่อมีการเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนน้อย ทำให้มีข้อจำกัดไม่สามารถคัดเลือกตัวแทนกลุ่มตัวอย่างได้ เกิดความคลาดเคลื่อนอย่างเป็นระบบ (systematic error) ดังนั้นในการแก้ไขจึงเสนอแนะว่าควรมีการขยายผลการใช้โปรแกรมความฉลาดทางอารมณ์ไปยังกลุ่มผู้เข้ารับการบำบัดรักษาในพื้นที่อื่น ๆ ให้มากที่สุด เพื่อทำให้โปรแกรมมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >