หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


การพัฒนาโปรแกรมการทำหน้าที่ของครอบครัวของครอบครัวผู้ป่วยยาเสพติด พิมพ์
Wednesday, 28 July 2010
ชื่อเรื่อง    : การพัฒนาโปรแกรมการทำหน้าที่ของครอบครัวของครอบครัวผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดรักษาในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพแบบเข้มข้นทางสายใหม่ สถาบันยาเสพติดธัญญารักษ์
ผู้วิจัย    : สำเนา   นิลบรรพ์, สุกุมา   แสงเดือนฉาย
ปี    : 2546

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการทำหน้าที่ของครอบครัว และเปรียบเทียบการทำหน้าที่ของครอบครัวของครอบครัวผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดรักษา ในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพแบบเข้มข้นทางสายใหม่ ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการทำหน้าที่ของครอบครัว กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบิดา มารดา หรือบุคคลสำคัญใกล้ชิดกับผู้ป่วยยาเสพติดและผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดรักษาในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพแบบเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST Model) จำนวน 15 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการทำหน้าที่ของครอบครัว ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล มี 2 ชุด คือ แบบประเมินการทำหน้าที่ของครอบครัว มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .8967 และแบบสัมภาษณ์การทำหน้าที่ของครอบครัว วิเตราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบการทำหน้าที่ของครอบครัวก่อนและหลังการทดลองด้วย Willcoxon Sign Rang Test

ผลการวิจัยพบว่า
1. การทำหน้าที่ของครอบครัวของครอบครัวผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดรักษา ในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพแบบเข้มข้นทางสายใหม่ หลังการใช้โปรแกรมการทำหน้าที่ของครอบครัวสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมการทำหน้าที่ของครอบครัว
2. การทำหน้าที่ของครอบครัวของครอบครัวผู้ป่วยยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดรักษา ในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพแบบเข้มข้นทางสายใหม่ โดยรวม ด้านบทบาท ด้านความผูกพันทางอารมณ์ และด้านการควบคุมพฤติกรรม ก่อนและหลังการทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการแก้ไขปัญหา ด้านการสื่อสาร และด้านการตอบสนองทางอารมณ์ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >