หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


การอยู่ครบกำหนดการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพเข้มข้นทางสายใหม่ พิมพ์
Wednesday, 28 July 2010
เรื่อง       การอยู่ครบกำหนดการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST Model) ของผู้ป่วยยาเสพติดโรงพยาบาลธัญญารักษ์
คณะผู้วิจัย  นางสาวกัญญา        ภู่ระหงษ์
                นางศิริรัตน์           ชูชีพ
                นางสาวเพลินตา      เที่ยงตรง
                นางสาวสุชาดา       ทิมอุดม
                นางสาวราตรี         หุ่นดี
                นางประกายรัตน์      ช่วยเจริญ
ปี        2545

บทคัดย่อ
    การวิจัยคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้มีผลต่อการอยู่ครบกำหนดการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST Model) ที่ส่งผลทำให้ผู้ป่วยอยู่จนครบกำหนดฟื้นฟูสมรรถภาพ 4 – 6 เดือน ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่อยู่ครบกำหนดการบำบัดรักษาในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ และอยู่ในระยะติดตามผลของโรงพยาบาลจำนวน 100 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง (Semi Structcre) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ และวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์เชิงลึก (Indept Interview)
    ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการบำบัดฟื้นฟู 4 องค์ประกอบคือ ครอบครัว (F), ผู้ป่วยและครอบครัวมีความพอใจในวิธีการที่ใช้ มีความรู้ ความเข้าใจในการบำบัดฟื้นฟู ผู้ป่วยและครอบครัวเห็นความสำคัญของการที่ครอบครัวมีส่วนร่วม กิจกรรมทางเลือก (A) สามารถเพิ่มทักษะในการปฏิบัติงาน เกิดการเรียนรู้สามารถฝึกทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี นำไปประกอบอาชีพภายนอกได้ กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อช่วยตนเอง (S) ผู้ป่วยมีการพัฒนาตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการประเมินพฤติกรรมทุก 1 เดือน การลาเยี่ยมบ้านได้สร้างความสัมพันธ์กับครอบครัว สังคมได้ดี กิจกรรมชุมชนบำบัด (T) พบว่ากิจกรรมกลุ่มที่ช่วยเหลือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดีขึ้น มีความอดทน อดกลั้น มีความรับผิดชอบ ปรับอารมณ์ ความรู้สึกได้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เผชิญปัญหาได้ มีความเชื่อมั่นในตนเองเมื่อกลับไปสู่สังคมภายนอก
    ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า กิจกรรมบางกิจกรรมควรปรับกระบวนการให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง สมเหตุสมผลกับสังคมไทย และควรมีการติดตามประเมินผลกิจกรรมครอบครัวเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพต่อไป
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >