หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


อาการทางจิตประสาทกับแบบแผนการเสพแอมเฟตามีนของผู้ป่วยรายใหม่ที่มารับการบำบัดรักษา พิมพ์
Friday, 23 July 2010
เรื่อง    การศึกษาความสัมพันธ์อาการทางจิตประสาทกับแบบแผนการเสพแอมเฟตามีนของผู้ป่วยรายใหม่ที่มารับการบำบัดรักษาในโรงพยาบาลธัญญารักษ์
ผู้วิจัย    นางสุพรรณ    โพธิ
ปี    2543

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของอาการทางจิตประสาทกับแบบแผนการเสพแอมเฟตามีนของผู้ป่วยรายใหม่ที่มารับบริการในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ ด้วยภาวะผิดปกติทางจิตจากการใช้แอมเฟตามีนโดยการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 70 คน  โดยใช้แบบสำรวจเก็บข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตประสาท นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยร้อยละ หาความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์ (Contigency Coefficient) แล้วทดสอบนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 โดยใช้สถิติทดสอบไคสสแควร์ (Chisqency : x2 ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่า
    1.  ผู้ป่วยแอมเฟตามีนรายใหม่ที่มารับบริการในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ พบว่าพฤติกรรมวิตกกังวลมีอาการนอนไม่หลับ และมีอาการหงุดหงิดกระวนกระวายมากที่สุด ร้อยละ 25.8 รองลงมา มีความกลัวโดยมามีสาเหตุ ร้อยละ 24.7 พฤติกรรมประสาทหลอนมีอาการพูดคุยคนเดียวมากที่สุด ร้อยละ 40.2 รองลงมามีอาการหูแว่วได้ยินเสียงคนมาพูดตลอดเวลา ร้อยละ 21.4 พฤติกรรมหวาดระแวงมีอาการก้าวร้าวผิดปกติมากที่สุด ร้อยละ 35.8 รองลงมามีอาการหวาดระแวงไม่ไว้วางใจผู้อื่น ร้อยละ 33.8 พฤติกรรมแยกตัวมีอาการไม่สนใจส่งแวดล้อมและคนรอบข้างมากที่สุด ร้อยละ 26.6 รองลงมามีอาการพูดไม่เป็นเหตุเป็นผลแก่กันเนื้อหาคำพูดไม่ต่อเนื่อง และคิดไม่ต่อเนื่อง ร้อยละ 24.8 พฤติกรรมซึมเศร้ามีอาการอารมณ์ครื้นเครงสนุกสนานมากกว่าปกติมากที่สุด ร้อยละ 27.5 รองลงมามีอารมณ์เศร้า มีความรู้สึกตนเองผิด คิดอย่างตายและรู้สึกว่าตนเองด้อย ร้อยละ 24.2
    2.  แบบแผนการเสพแอมเฟตามีนของกลุ่มตัวอย่าง ที่มีอาการจิตประสาทส่วนใหญ่ปริมาณการเสพ 1 – 3 เม็ด มากที่สุด ร้อยละ 51.4 รองลงมาปริมาณการเสพ 4 – 6 เม็ด และมากกว่า 6 เม็ด ร้อยละ 24.3 สำหรับระยะเวลาการเสพ 1 – 3 ปี มากที่สุด ร้อยละ 52.9 รองลงมาระยะเวลาการเสพ 4 – 6 ปี ร้อยละ 25.7
    3.  ความสัมพันธ์ระหว่างอาการจิตประสาทกับแบบแผนการเสพแอมเฟตามีนจากผลการศึกษา พบว่า ปริมาณการเสพแอมเฟตามีน และระยะเวลาการเสพแอมเฟตามีน มีความสัมพันธ์กับอาการทางจิตประสาท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >