หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


การตรวจหาปริมาณสารที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคสุราขาวที่จำหน่ายในเขตพื้นที่ภาคกลาง พิมพ์
Wednesday, 28 July 2010
ชื่อเรื่อง    การตรวจหาปริมาณสารที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคสุราขาวที่จำหน่ายในเขตพื้นที่ภาคกลาง
ชื่อผู้วิจัย    นายแพทย์ล่ำซำ        ลักขณาภิชนชัช
    นางสาวทิพย์วรรณ    ภูติประวรรณ
    นางรุจิรา        อาภาบุษยพันธุ์
    นางศิวนารถ        เรียนลึก
หน่วยงาน    สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ปีงบประมาณ    2547

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการตรวจหาปริมาณสารที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคในสุราขาวจำนวน 13 ชนิด แบ่งเป็นกลุ่มสารอันตรายที่เกิดจากกระบวนการหมัก ได้แก่ เอธิลแอลกอฮอล์ เมธิลแอลกอฮอล์ ฟูเซลออยล์ แอลดีไฮด์ เอสเทอร์ กลุ่มสารเจือปน ได้แก่ กรดซอร์บิค กรมเบนโซอิก ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และสารปนเปื้อนที่เป็นโลหะหนัก ได้แก่ สารหนู ตะกั่ว ทองแดง เหล็ก และดีบุก โดยการตรวจหาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสุราขาวที่จำหน่ายในเขตภาคกลาง จำนวน 69 ตัวอย่างแบ่งเป็นสุราขาวที่ผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 12 ตัวอย่าง สุรากลั่นชุมชนจำนวน 55 ตัวอย่าง และสุราขาวที่ไม่ระบุแหล่งผลิตอีก 2 ตัวอย่าง การตรวจวิเคราะห์เป็นการหาปริมาณสารเมธิลแอลกฮอล์ ฟูเซลออยล์ แอลดีไฮด์ เอสเทอร์ โดยวิธี GC-FID (Gas Chromatograph-Flame Ionization Detector) ตรวจวัดแรงแอลกอฮอล์โดยใช้ Picanometer ตรวจหาปริมาณกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิค โดยวิธี HPLC (High Performance Liquid Chromatography) ตรวจหาซัลเฟอร์ไดออกไซด์โดยวิธี Moddified Maneir-Williams ตรวจหาปริมาณสารหนู ดีบุก ตะกั่ว เหล็ก ทองแดง โดยวิธี FAAS (Flame Atomic Absorbtion spectrophotometer) ผลการตรวจวิเคราะห์มีดังต่อไปนี้

    ปริมาณ ฟูเซลออยล์ แอลดีไฮด์ และเอสเทอร์ที่ตรวจพบอยู่ในช่วง 0.17-5270.19, 119.48-405.16 และ 110.56-1920.47 mg/l ตามลำดับส่วนเมธิลแอลกอฮอล์ตรวจไม่พบทั้ง 69 ตัวอย่าง

    ปริมาณกรดซอร์บิค กรดเบนโซอิก และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่ตรวจพบอยู่ในช่วง 7.91-9.11, 11.16-11.16 และ 0.31 – 5.59 mg/l ตามลำดับ

    ปริมาณสารหนู ตะกั่ว ทองแดง เหล็ก และดีบุก ที่ตรวจพบอยู่ในช่วง 0.004-0.005, 0.26-0.30, 0.02-5.62, 0.04-1.14 และ 0.27-17.21 mg/l ตามลำดับ

    เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก. 2088-2544) พบว่า ตัวอย่างสุรามี่มีระดับความแรงแอลกอฮอล์ไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ร้อยละ 89.85 โดยพบในสุราโรงงาน ร้อยละ 75.00 ของสุราโรงงาน ที่ส่งตรวจทั้งหมด และสุรากลั่นชุมชน ร้อยละ 94.54 ของสุรากลั่นชุมชนที่ส่งตรวจทั้งหมด

    ตัวอย่างสุราขาวจากโรงงาน พบปริมาณตะกั่วเกินมาตรฐาน ร้อยละ 8.33 ของสุราขาวจากโรงงานที่ส่งตรวจทั้งหมด

    ตัวอย่างสุรากลั่นชุมชน พบปริมาณแอลดีไฮด์ เอสเทอร์ ตะกั่ว และทองแดง เกินมาตรฐานร้อยละ 27.28, 3.63, 12.72 และ 1.82 ของสุรากลั่นชุมชนที่ส่งตรวจทั้งหมด

    จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าระดับแรงแอลกอฮอล์ในสุราขาวจากโรงงาน และสุรากลั่นชุมชนมีแนวโน้มไม่เป็นไปตามมาตรฐานสูง ปริมาณ แอลดีไฮด์ เอสเทอร์ ตะกั่ว และทองแดง ในสุรากลั่นชุมชนมีแนวโน้มเกินมาตราฐานสูง
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >