หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


บทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่ปฏิบัติจริงของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยเสพติดยาบ้า พิมพ์
Wednesday, 28 July 2010
ชื่อเรื่อง    บทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่ปฏิบัติจริงของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยเสพติดยาบ้าที่รักษาไม่ครบกำหนดในรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพแบบเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST Model) ในโรงพยาบาลธัญญารักษ์
ชื่อผู้วิจัย    นางลัดดา    ขอบทอง
               นางระเบียบ    โตแก้ว
หน่วยงาน    สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ปีงบประมาณ    2545

บทคัดย่อ

    การวิจัยเรื่อง “บทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่ปฏิบัติจริงของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยเสพติดยาบ้าที่รักษาไม่ครบกำหนดในรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพแบบเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST Model) ในโรงพยาบาลธัญญารักษ์” เพื่อศึกษาถึงบทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่ปฏิบัติจริงของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยเสพติดยาบ้าที่รักษาไม่ครบกำหนดในรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพแบบเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST Model) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเสพติดยาบ้า จำนวน 35 ราย การวิเคราะห์ข้อมูล ได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS/PC โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม การทดสอบความสัมพันธ์ด้วยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. บทบาทที่คาดหวังของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยเสพติดยาบ้าจะเห็นได้ว่าบทบาทที่คาดหวังด้านทั่วไป ระดับมาก คือ บทบาทที่ครอบครัวให้ความสนใจดูแลเอาใจใส่, ครอบครัวยกโทษและให้โอกาสแก้ตัวใหม่เมื่อทำผิดพลาด, สมาชิกในครอบครัวมีความจริงใจต่อกันไม่เสแสร้งส่วนบทบาทที่คาดหวังด้านยาเสพติด ระดับมาก คือ บทบาทที่ครอบครัวยอมรัวว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของท่านเกิดจากฤทธิ์ของยาเสพติด
    2. บทบาทที่ปฏิบัติจริงของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยเสพติดยาบ้า พบว่าบทบาทที่ปฏิบัติจริงของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยเสพติดยาบ้าจะเห็นได้ว่าบทบาททั่วไป ระดับมาก คือ แสดงท่าทีเป็นห่วงเมื่อกลับบ้านไม่ตรงเวลา, บทบาทที่ครอบครัวให้ความสนใจดูแลเอาใจใส่, บุคคลในครอบครัวมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน, ครอบครัวยกโทษและให้โอกาสแก้ตัวใหม่เมื่อทำผิดพลาด ส่วนบทบาทที่ปฏิบัติจริงด้านยาเสพติดนั้นพบว่า บทบาทที่ปฏิบัติจริงระดับมาก คือ บทบาทที่ครอบครัวยอมรับว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของท่านเกิดจากฤทธิ์ของยาเสพติด
    3. บทบาทที่คาดหวังมีความสัมพันธ์กับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยเสพติดยาบ้าที่รักษาไม่ครบกำหนดในรูปแบบการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพแบบเข้มข้นทางสายใหม่ (FAST Model) ในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >