หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


ความพึงพอใจของผู้รับบริการงานตรวจพิสูจน์สารเสพติด พิมพ์
Wednesday, 28 July 2010
เรื่อง    การศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการงานตรวจพิสูจน์สารเสพติด กลุ่มงานพยาธิวิทยาโรงพยาบาลธัญญารักษ์
ผู้วิจัย   นางนงเยาว์    ชื่นชมน้อย
ปี    2545

บทคัดย่อ
    การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือผู้มารับบริการตรวจพิสูจน์สารเสพติด กลุ่มงานพยาธิวิทยา โรงพยาบาลธัญญารักษ์ จำนวน 348 ราย แต่นำมาวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่ทำการตรวจพิสูจน์สารเสพติด เพียง 269 ราย เท่านั้น ใช้แบบสอบถามเป้ฯเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นเชิงปริมาณ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งผลการศึกษาพบว่าผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการให้บริการทั้ง 6 ด้าน (ด้านความสะดวก ด้านประสานบริการ ด่านอัธยาศัยและการให้เกียรติ ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านคุณภาพบริการ ด้านค่าใช้จ่าย หรือค่าตรวจสูจน์หาสารเสพติด) อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก และพบว่าผู้รับบริการบางรายต้องการผลการตรวจให้เร็วขึ้นกว่าเดิม ทางหน่วยงานจะได้คิดหาวิธีการพัฒนาวิธีการตรวจต่อไป

ผลการทดสอบสมมติฐาน
    สมมติฐานที่ 1 ปัจจัยทางด้านสังคมและประชากร ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ได้ผลดังนี้
1.1    เพศ พบว่า เพศไม่มีผลต่อระดับความพึงพอใจในการมารับบริการตรวจพิสูจน์สารเสพติดแต่อย่างใด
1.2    อายุ พบว่า อายุมีผลต่อระดับความพึงพอใจบางด้าน ได้แก่ ด้านอัธยาศัยและการให้เกียรติ ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านคุณภาพ และค่าใช้จ่าย (ค่าตรวจพิสูจน์หาสารเสพติด) เป็นต้น
1.3    การศึกษา พบว่า การศึกษามีผลต่อระดับความพึงพอใจบางด้าน ได้แก่ ด้านความสะดวก ด้านการประสานบริการ ด้านคุณภาพ และค่าใช้จ่าย (ค่าตรวจพิสูจน์หาสารเสพติด) เป็นต้น
1.4    อาชีพ พบว่า อาชีพมีผลต่อระดับความพึงใจเพียง 2 ด้าน คือ ด้านอัธยาศัยและการให้เกียรติ กับ ค่าใช้จ่าย (ค่าตรวจพิสูจน์หาสารเสพติด) เป็นต้น
1.5    รายได้ พบว่า มีผลต่อความพึงพอใจในการมารับบริการตรวจพิสูจน์สารเสพติดทั้ง 6 ด้าน คือ ทั้งด้านความสะดวก ด้านการประสานบริการ ด้านอัธยาศัยและการให้เกียรติ ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านคุณภาพ ด้านค่าใช้จ่าย (ค่าตรวจพิสูจน์หาสารเสพติด) เป็นต้น
สมมติฐานที่ 2 ปัจจัยการเข้าถึงบริการ ได้แก่ จำนวนครั้งในการมารับบริการตรวจพิสูจน์สารเสพติด พบว่า ไม่มีผลต่อระดับความพึงพอใจแต่อย่างใด
    ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ หน่วยงานควรจัดอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถให้แก่บุคลากรผู้ให้บริการงานตรวจพิสูจน์สารเสพติด เป็นการสร้างแรงจูงใจและเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน มีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจหาสารเสพติดที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย ปรับปรุงการให้บริการให้มีความสะดวกและรวดเร็วกว่าเดิม ด้านเจ้าหน้าที่ควรให้คำแนะนำแก่ผู้มารับบริการมากขึ้น
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >