หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม:ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลบ้านคู พิมพ์
Wednesday, 28 July 2010
เรื่อง    การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : ศึกษาเฉพาะกรณีตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
ผู้วิจัย   นางดุษณีย์    ชาญปรีชา
          นางอภิรดี    พฤกษาพนาชาติ
          นางพรรนอ    กลิ่นกุหลาบ
          นางสาวกาญจนา    ภูยาธร
ปี    2545

สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการวิจัย
    การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ศึกษากับประชาชนในพื้นที่ 15 หมู่บ้านของตำบลบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดที่กำลังรุนแรงอยู่ในปัจจุบัน โดยการให้ความรู้ กระตุ้นให้ชุมชนมองเห็นปัญหายาเสพติดและตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบ แก้ไขปัญหา และเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องโดยชุมชนเอง โดยการดำเนินกิจกรรมมีกรับวนการดังนี้
    1.  การคัดเลือกชุมชน (Selecting Community)
    ชุมชนที่ได้รับการคัดเลือก คือ ชุมชนบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป้ฯการตัดสินใจเลือก โดยหน่วยงานในพื้นที่ คือ สาธารณสุขจังหวัด สาธารณสุขอำเภอ และนักวิจัยชุมชน โดยพิจารณาจากข้อมูลการแพร่ระบาดของยาเสพติด ความพร้อมของชุมชน ความเข้มแข็งของแกนนำชุมชนในส่วนของนักวิจัยจากโรงพยาบาลธัญญารักษ์ซึ่งเป็นนักวิจัยภายนอก ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ข้อมูลจากการพิจารณาข้อมูลจากการสำรวจทางระบาดวิทยาของผู้เสพและผู้ติดยาเสพติดทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2544 ของจังหวัดบุรีรัมย์ และชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการแกคณะผู้บริหารของจังหวัด อันนำไปสู่การตัดสินใจเลือกชุมชน
    2.  การเข้าสู่ชุมชน (Entering Community)
    ในกิจกรรมการเข้าสู่ชุมชนครั้งแรก นักวิจัยจากโรงพยาบาลธัญญารักษ์มีเวลา 1 งัน ในการทำกิจกรรม จึงได้ประสานงานกับนักวิจัยชุมชนให้มีส่วนร่วมในการเป็นผู้ประสาน นัดกลุ่มเป้าหมายให้มาร่วมกิจกรรม จัดเตรียมสถานที่และอาหาร โดยนักวิจัยได้ทำกิจกรรมการจัดเสวนาผู้นำชุมชนได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบล พระ ครู ตำรวจ ในชุมชนจำนวน 50 คน นักวิจัยมีบทบาทเป็นผู้นำกลุ่ม ให้ข้อมูลแพร่ความคิด ใช้กระบวนการกลุ่มกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็น เรื่องสถานการณ์ยาเสพติดในชุมชน ปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดที่ชุมชนต้องร่วมแก้ไข เมื่อเสร็จกิจกรรมนักวิจัยทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่ได้มาเขียนโครงการลงปฏิบัติในชุมชน
    3.  การเตรียมคน และเตรียมเครือข่าย
    การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน นักวิจัยจากโรงพยาบาลธัญญารักษ์จึงได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเสวนาผู้นำชุมชน กิจกรรมเวทีชาวบ้าน กิจกรรมให้ความรู้เรื่องการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้ประชาชน มีความรักในชุมชน มีความตระหนักและรับรู้ถึงสภาพปัญหายาเสพติดของชุมชน รวมทั้งมีความรู้และเข้าใจเรื่องการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม อันเป็นการสร้างเครือข่ายบุคคลและหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกชุมชนที่จะช่วยกันดูแล แก้ไขปัญหายาเสพติดของชุมชนต่อไป ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ นักวิจัยมีบทบาทเป็นผู้ประสานงาน นัดกลุ่มเป้าหมาย จัดเตรียมสถานที่และอาหาร
    4.  การศึกษาชุมชน วิเคราะห์ปัญหาและพิจารณาความเป้ฯไปได้ของโครงการ
    ภายหลังจากมีการคัดเลือกชุมชนบ้านคู อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ นักวิจัยโรงพยาบาลธัญญารักษ์ได้ศึกษาปัญหาและความต้องการของชุมชนจากข้อมูลสาธารณสุขอำเภอและคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในชุมชนนอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับแกนนำชุมชน จากการเสวนาระดมความคิดทั้งระดับบุคคลและกลุ่ม เพื่อประเมินปัญหาและความต้องการของชุมชน จากการเสวนาแกนนำพบปัญหาที่หลากหลาย เช่น ประชาชนขาดความรู้เรื่องโทษพาภัยของยาเสพติด ครอบครัวขาดความอบอุ่นเนื่องจากครอบครัวแตกแยก การไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและชุมชน เยาวชนไปทำงานต่างถิ่นแล้วติดยาเสพติด ปัญหาพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัด รวมทั้งมีกลุ่มผู้มีอิทธิพลในชุมชน เป็นต้น
    จากปัญหาที่ได้จากการระดมความคิดของผู้นำชุมชน นักวิจัยจากโรงพยาบาลธัญญารักษ์ และนักวิจัยชุมชนได้ร่วมกันประเมินความเป้ฯไปได้ของโครงการกิจกรรมที่จะจัดในชุมชน โดยพิจาณาในประเด็นขนาดของปัญหา ความร้ายของปัญหา ความพร้อมในการแก้ไขปัญหา ความสนใจของประชาชนในชุมชนและทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน พบว่าปัญหาที่ต้องดำเนินการก่อน คือ ประชาชนขาดความรู้เรื่องโทษพิษภัยของยาเสพติด ครอบครัวขาดความอบอุ่น เยาวชนไปทำงานต่างถิ่นแล้วติดยาเสพติด และการไม่ได้รับความร่วมมือจากชุมชน ซึ่งนักวิจัยจากโรงพยาบาลธัญญารักษ์ และนักวิจัยชุมชนได้ร่วมกันพิจารณาการนำกิจกรรมเข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหาในชุมชน ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพวิทยากรแกนนำชุมชน การพัฒนาศักยภาพครอบครัว (โครงการบ้านสีขาว) การพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชน การจัดตั้งค่ายบำบัดฟื้นฟูเยาวชนผู้ติดสารเสพติดในชุมชน การติดตามและประเมินผลค่ายบำบัดฟื้นฟูเยาวชนต้นกล้า
    5.  การปฏิบัติการในชุมชน ประกอยด้วยกิจกรรมและผลดังนี้
    5.1  การพัฒนาศักยภาพวิทยากรแกนนำชุมชน ทำหมีวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติดในชุมชน จำนวน 25 คน และได้ดำเนินการจัดค่ายฟื้นฟูในชุมชนบ้านคูจำนวน 1 ค่าย นอกจากนี้วิทยากรแกนนำชุมชนบ้านคูยังได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรในการจัดค่ายบำบัดฟื้นฟูของกรมอาชีวะ ที่จัดขึ้นที่จังหวัดบุรีรัมย์จำนวน 1 ค่าย
    5.2  การพัฒนาศักยภาพครอบครัว (โครงการบ้านสีขาว) ทำให้ครอบครัวมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของยาเสพติด มีเจตคติ และเข้าใจทักษะในการทำหน้าที่ครอบครัวได้ดีมากขึ้น ครอบครัวมีความเข้าใจในการแก้ไขปัญหายาเสพติด และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีการจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครบ้านสีขาวเพื่อเป้ฯที่ปรึกษาของสมาชิกบ้านสีขาวต่อไป
    5.3  การพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน เกิดแกนนำชุมชนจำนวน 50 คน ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยของยาเสพติด การเข้าใจตนเองและผู้อื่น การสร้างความสุข การวิเคราะห์สถานการณ์ยาเสพติดในชุมชน และร่วมกับแกนนำชุมชน นักวิจัยชุมชน ในการประชาสัมพันธ์ชักชวนผู้เสพสารเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษา
    5.4  การจัดตั้งค่ายบำบัดฟื้นฟูเยาวชนผู้ติดสารเสพติดในชุมชน ให้การบำบัดฟื้นฟูผู้เสพสารเสพติดจำนวน 40 คน ทำให้ผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูมีความรู้ในเรื่องโทษพิษภัยของยาเสพติด การทำหน้าที่ครอบครัว และความฉลาดทางอารมณ์เมขึ้น
    5.5  การติดตามและประเมินค่ายบำบัดฟื้นฟู มีการนัดกลุ่มเยาวชนที่ผ่านการบำบัดฟื้นฟูจำนวน 24 คน ผู้ปกครองเยาวชนจำนวน 13 คน เข้าร่วมกิจกรรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มเรื่องการปฏิบัติตัวของเยาวชน และมีการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติด เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการใช้สารเสพติดของเยาวชน ผลการตรวจไม่พบสารเสพติดในปัสสาวะของเยาวชน

ข้อเสนอแนะ
    ระยะสั้น
    1.  พื้นที่ที่ทำการวิจัยอยู่ห่างไกล ทีมนักวิจัยจากส่วนกลางเดินทางไปร่วมกิจกรรมได้ลำบากและทีมนักวิจัยจากส่วนกลางยังมีภารกิจด้านอื่น ๆ อีกหลายประการ ทำให้มีข้อจำกัดในการเดินทาง ในการวิจัยครั้งต่อไป ทีมนักวิจัยควรรับผิดชอบงานวิจัยอย่างเต็มที่ สามารถมีเวลาลงฝังตัวในชุมชนเพื่อดำเนินงานวิจัยให้สมบูรณ์
    2.  การวิจัยเป็นการริเริ่มจากทีมนักวิจัยส่วนกลาง เข้าไปกระตุ้นบุคคลในพื้นที่ให้ดำเนินการ จึงทำให้ชุมชนไม่ได้เกิดความตระหนักในปัญหาของตนเองอย่างแท้จริง และให้ความร่วมมือในการดำเนินการ แต่หากการวิจัยเป็นการริเริ่มจากบุคคลในชุมชนที่ตระหนักในปัญหาของชุมชน แล้วต้องการความช่วยเหลือจากนักวิจัยส่วนกลาง จะทำให้การดำเนินการวิจัยเป็นไปอย่างมีส่วนร่วมที่แท้จริง มีความต่อเนื่อง รวดเร็ว และสามารถดำรงอยู่ได้เมื่อนักวิจัยจากส่วนกลางถอนตัวออก
    3.  ผู้นำชุมชนควรมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ยาเสพติดในชุมชนได้ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในชุมชนเพื่อสร้างเครือข่าย สร้างนักวิจัยชุมชนดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในชุมชนเกิดความสนใจที่เข้าร่วมกิจกรรม สามารถดำเนินการวิจัยให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้เอง โดยขอความช่วยเหลือจากนักวิจัยส่วนกลางน้อยที่สุด
    4.  นักวิจัยท้องถิ่น ผู้ที่เป็นเครือข่ายส่วนใหญ่ยังเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เนื่องจากนักวิจัยส่วนกลางมีปัญหาในการเดินทางดังกล่าวข้างต้น และไม่มีเวลาลงฝังตัวในชุมชนได้ การสร้างเครือข่ายนักวิจัยท้องถิ่น จึงใช้วิธีติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงาน สาธารณสุขอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบล ตำรวจ เป็นต้น เพื่อเข้าร่วมในการดำเนินการวิจัย ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้องค์กรภาคเอกชน บุคคลผู้เป็นสมาชิกในชุมชน เกิดความรักชุมชน ตระหนักในปัญหายาเสพติดของชุมชน ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม ประสานความร่วมมือ มีส่วนร่วมมากขึ้นในการแก้ไขปัญหายาเสพติดของชุมชน

    ระยะยาว
    โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของโรงพยาบาลธัญญารักษ์ ได้มีส่วนเข้าไปช่วยให้ชุมชนเกิดความเปลี่ยนแปลงในการแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหายาเสพติดของชุมชน โดยทำให้ชุมชนเกิดการยอมรับในปัญหา และมีแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเกิดความร่วมมือกันในการดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมโดยชุมชนเองได้ ซึ่งหากสามารถดำเนินการแพร่ความคิดเกี่ยวกับวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและชุมชนได้อย่างครอบคลุมทั่วประเทศ จะเกิดผลดีในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นระบบ โดยโรงพยบาลธัญญารักษ์ทำหน้าที่เป็นทีมวิจัยส่วนกลางที่พร้องจะสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือในเรื่ององค์กรความรู้ต่าง ๆ และเป็นที่ปรึกษาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับชุมชน เพื่อช่วยให้ชุมชนมีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาได้มากยิ่งขึ้นซึ่งจะทำให้ทุกชุมชนสามารถจัดการกับปัญหายาเสพติดชุมชนได้ ส่งผลถึงภาพรวมของประเทศในการที่จะสร้างเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหายเสพติดได้อย่างเป็นรุปธรรมมากขึ้น
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >