หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นระยะบำบัดด้วยยา พิมพ์
Wednesday, 28 July 2010

ชื่อเรื่อง        ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นระยะบำบัดด้วยยา
ชื่อผู้วิจัย       นางทิพย์วารินทร์        เบ็ญจนิรัตน์
                  นางธนาธิป       ถาพันธ์
หน่วยงาน     สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ปีงบประมาณ    2545

บทคัดย่อ

       การวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นระยะบำบัดด้วยยา” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นระยะบำบัดด้วยยา และพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นระยะบำบัดด้วยยา ในการศึกษาครั้งนี้กลุ่มตัวอย่าง คือ ของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นระยะบำบัดด้วยยาที่เข้ารับการรักษาระบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ ปทุมธานี ในระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนพฤษภาคม 2545 จำนวน 169 คน เก็บข้อมูลโดยวิธีการตอบแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS/Windows หาค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติ T-test F-test และ ANOVA
        ผลการวิจัยพบว่า
        1. กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาทั้งหมดเป็นเพศชายมีอายุระหว่าง 12 – 45 ปี โดยช่วงอายะ 16 – 25 ปีมีมากที่สุด ส่วนใหญ่สถานภาพสมรสโสด มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ไม่ได้ทำงาน/ว่างงานมีรายได้ต่ำกว่า 3,000 บาท /เดือน กรณีไม่มีอาชีพได้รับค่าใช้จ่ายจากบิดามารดามีเงินเพียงพอกับค่าใช้จ่ายไม่มีเหลือเก็บ มีระยะเวลาในการเสพสารกระตุ้น 1 – 5 ปี เข้ารับการบำบัดรักษาเป็นครั้งแรก สาเหตุที่เข้ารับการบำบัดรักษาในครั้งนี้คือสมัครใจมาเองพักอาศัยอยู่กับบิดาและมารดา
        2. การสนับสนุนทางครอบครัวของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้น 5 ด้าน ได้แก่การสนับสนุนด้านอารมณ์ด้านการยอมรับยกย่องและเห็นคุณค่า ด้านการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านเงินทอง สิ่งของ แรงงาน และบริการ พบว่า ผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นมีค่าคะแนนเฉลี่ยการสนับสนุนทางครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง ทั้ง 5 ด้าน
        3. พฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้น พบว่าผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นมีพฤติกรรมการบำบัดรักษาระดับสูง มากที่สุด รองลงมา คือ พฤติกรรมการบำบัดรักษา ระดับปานกลาง และพบว่าพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นที่อยู่ในระดับสูง ที่สุด คือ ท่านมารับประทานยาครบทุกมื้อตามแผนการรักษา รองลงมาคือ ท่านรับประทานอาหารตรงตามเวลาและรับประทานในสถานที่ที่จัดให้กับท่านไม่เข้า หอพักผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต ส่วนพฤติกรรมการบำบัดรักษาที่ในระดับต่ำที่สุด คือ เมื่อถึงเวลารับประทานยาท่านจะมารับประทานยาเองโดยไม่ต้องให้เจ้าหน้าที่ เรียก
        4. ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบำบัดรักษาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ระยะเวลาในการใช้ยาเสพติด จำนวนครั้งที่เข้ารับการรักษา สาเหตุที่เข้ารับการรักษา การพักอาศัยกับบุคคลในครอบครัว และระดับการสนับสนุนทางครอบครัว 5 ด้าน พบว่า
            4.1) ระยะเวลาในการใช้สารเสพติด มีผลต่อพฤติกรรมการบำบัดรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
            4.2) จำนวนครั้งที่เข้ารับการรักษา มีผลต่อพฤติกรรมการบำบัดรักษาอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
            4.3) สาเหตุที่เข้ารับการรักษา มีผลต่อพฤติกรรมการบำบัดรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
            4.4) การพักอาศัยกับบุคคลในครอบครัว มีผลต่อพฤติกรรมการบำบัดรักษาอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
            4.5) การสนับสนุนด้านอารมณ์ พบว่า ค่าคะแนนของพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นที่มีการสนับสนุนในระดับสูง มีค่าคะแนนที่แตกต่างจากค่าคะแนนของพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นที่มีการสนับสนุนในระดับต่ำ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
            4.6) การสนับสนุนด้านการยอมรับยกย่องและเห็นคุณค่า พบว่าค่าคะแนนของพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นที่มีการสนับสนุนในระดับสูง มีค่าคะแนนที่แตกต่างจากค่าคะแนนของพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นที่มีการสนับสนุนในระดับต่ำ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
            4.7) การสนับสนุนด้านการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม พบว่า
                      1. ค่าคะแนนของพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นที่มีการสนับ สนุนในระดับปานกลางมีค่าคะแนนที่แตกต่างจากค่าคะแนนของพฤติกรรมการบำบัด รักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นที่มีการสนับสนุนในระดับสูงที่ระดับนัย สำคัญทางสถิติที่ 0.05
                      2. ค่าคะแนนของพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นที่มีการสนับสนุนในระดับสูง มีค่าคะแนนที่แตกต่างจากค่าคะแนนของพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นที่มีการสนับสนุนในระดับต่ำ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
            4.8) การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร พบว่า
                      1. ค่าคะแนนของพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นที่มีการสนับ สนุนในระดับปานกลางมีค่าคะแนนที่แตกต่างจากค่าคะแนนของพฤติกรรมการบำบัด รักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นที่มีการสนับสนุนในระดับสูง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
                      2. ค่าคะแนนของพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นที่มีการสนับสนุนในระดับสูง มีค่าคะแนนที่แตกต่างจากค่าคะแนนของพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นที่มีการสนับสนุนในระดับต่ำ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
            4.9) การสนับสนุนด้านสิ่งของ เงินทอง แรงงาน และบริการ พบว่า
                      1. ค่าคะแนนของพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นที่มีการสนับ สนุนในระดับปานกลางมีค่าคะแนนที่แตกต่างจากค่าคะแนนของพฤติกรรมการบำบัด รักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นที่มีการสนับสนุนในระดับสูง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
                      2. ค่าคะแนนของพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นที่มีการสนับสนุนในระดับสูง มีค่าคะแนนที่แตกต่างจากค่าคะแนนของพฤติกรรมการบำบัดรักษาของผู้ป่วยชายเสพสารกระตุ้นที่มีการสนับสนุนในระดับต่ำ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

        จากผลการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้

            1. ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยอันได้แก่บุคคลที่อยู่อาศัยใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น บิดา มารดา ญาติ พี่น้อง ครู อาจารย์ ที่ผู้ป่วยให้ความเคารพนับถือ ควรช่วยกันส่งเสริมและสร้างขวัญกำลังใจให้ผู้ป่วยมีความตั้งใจในการบำบัดรักษาซึ่งจะส่งผลให้มีพฤติกรรมการบำบัดรักษาที่ดี และทำให้การบำบัดรักษายาเสพติดมีประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ตามปกติได้โดยไม่กลับไปติดซ้ำ
            2. บุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่มีส่วนในการบำบัดรักษาผู้ป่วย เช่น แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ควรปฏิบัติหน้าที่ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถ และยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มีการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติ ให้สร้างความสัมพันธ์ที่ต่อกันเข้าใจกัน และรู้จักการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
            3. เครือข่ายภาครัฐ และเอกชน ควรมีการรณรงค์เกี่ยวกับโทษพิษภัยของยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง และสื่อมวลชนควรเข้ามามีบทบาทในการนำเสนอข่าวให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากสารกระตุ้น มีการให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนในโรงเรียนเกี่ยวกับโทษพิษภัยของยาเสพติด และอันตรายที่จะเกิดจากสารกระตุ้น

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >