หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติของญาติต่อผู้ป่วยติดสารเสพติดที่มีอาการทางจิต พิมพ์
Wednesday, 28 July 2010
เรื่อง     การศึกษาความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติของญาติต่อผู้ป่วยติดสารเสพติดที่มีอาการทางจิต ที่เข้าบำบัดรักษาในโรงพยาบาลธัญญารักษ์
ผู้วิจัย   นันธณา        อินพรหม
          เยาวเรศ        นาคะโยธินสกุล
ปี        2545
        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เรื่องยาเสพติด ความรู้เรื่องการดูแล ทัศนคติและการปฏิบัติในการดูแลของญาติต่อผู้ป่วยติดสารเสพติดที่มีอาการทางจิต ที่เข้าบำบัดรักษาในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติ หรือผู้ปกครองของผู้ป่วยติดสารเสพติดที่มีอาการทางจิตที่เข้าบำบัดรักษาบำบัดด้วยยา ครั้งที่ 2 ตึกโกเมน ตึกมรกต โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2545 ได้กลุ่มตัวอย่าง 75 ราย ญาติหรือผู้ปกครองของผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตที่เป็นกลุ่มตัวอย่างชาย 41 คน หญิง 34 คน มีอายุระหว่าง 41-50 ปี จบการศึกษามัธยมศึกษา ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว รายได้ 5,000 บาทขึ้นไป ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ต่างจังหวัด ญาติผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดรักษา 2 ครั้งขึ้นไปเครื่องมือที่ใช้มี 1 ชุด เป็นแบบสอบถาม ทั้งหมด 5 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ข้อมูลความรู้เรื่องยาเสพติด ส่วนที่ 3 ข้อมูลความรู้เรื่องการดูแลของญาติผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิต ส่วนที่ 4 ข้อมูลทัศนคติของญาติผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิต ส่วนที่ 5 ข้อมูลการปฏิบัติในการดูแลของญาติผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิต ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ผ่านการตรวจสอบตรงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ (r)

ผลการวิจัยพบว่า
    1.  ความรู้ของญาติเรื่องยาเสพติด และความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยติดสารเสพติดที่มีอาการทางจิต อยู่ในระดับสูง โดยพบว่าความรู้เรื่องยาเสพติด (   = 9.18) และความรู้เรื่องการดูแลจองญาติ ( =  9.10)
    2.  ความรู้เรื่องยาเสพติด ความรู้เรื่องการดูแล ไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตของญาติอย่างมีนับสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 (r=0.047)
    3.  ทัศนคติของญาติต่อผู้ป่วยติดสารเสพติดที่มีอาการทางจิต อยู่ในระดับดี ( =3.67)
    4.  ลักษณะการปฏิบัติในการดูแลของญาติต่อผู้ป่วยติดสารเสพติดที่มีอาการทางจิต อยู่ในระดับดี ( =2.40)
    5.  ทัศนคติของญาติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตของญาติอย่างนับสำคัญทางสถิติที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r=0.422)
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >