หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


ปริมาณความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วยที่ติดสารเสพติดระยะถอนพิษยา พิมพ์
Wednesday, 28 July 2010
เรื่อง    การศึกษาปริมาณความต้องการการพยาบาลของผู้ป่วยที่ติดสารเสพติดระยะถอนพิษยา โรงพยาบาลธัญญารักษ์
ผู้วิจัย   พ.อ.อ.(หญิง) สมจิตต์    วงษ์ปา
         นางสาวสำเนา        มากแบน
         นางสาววัชรี        มีศิลป์
ปี    2544

บทคัดย่อ
         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณเวลาการปฏิบัติการพยาบาลโดยตรงผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด ระยะถอนพิษยา โรงพยาบาลธัญญารักษ์ จำแนกตามประเภทของผู้ป่วย ใน 24 ชั่วโมง และในแต่ละช่วงการปฏิบัติงาน และศึกษาปริมาณเวลาการปฏิบัติการพยาบาลโดยอ้อมของบุคลากรทางการพยาบาลแต่ละระดับปฏิบัติในแต่ละช่วงการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดสารเสพติดที่เข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยใน ระยะถอนพิษยา โรงพยาบาลธัญญารักษ์ จำนวน 330 คน และบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ในหอผู้ป่วยระยะถอนพิษยา จำนวน 138 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชุด ชุดที่ 1 เครื่องมือจำแนกประเภทผู้ป่วย และชุดที่ 2 แบบบันทึกเวลาการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
         ผลการวิจัยพบว่า
         1.ปริมาณเวลาการปฏิบัติการพยาบาลโยตรงของผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด ระยะถอนพิษยา โรงพยาบาลธัญญารักษ์ แต่ละประเภท ใน 24 ชั่วโมง มีดังนี้ ผู้ป่วยประเภทที่ 1 คือ ผู้ป่วยที่สามารถดูแลตนเองได้ (Self care) ต้องการปริมาณเวลาการปฏิบัติการพยาบาลโดยตรง เฉลี่ย 221.68 นาที (3.69 ชั่วโมง) ผู้ป่วยประเภทที่ 2 คือ ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลในระดับต่ำ (Minimal care) ต้องการปริมาณเวลาการปฏิบัติการพยาบาลเฉลี่ย 239.45 นาที (3.99 ชั่วโมง) ผู้ป่วยประเภทที่ 3 คือ ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลในระดับปานกลาง (Intermediate care) ต้องการปริมาณเวลาการปฏิบัติพยาบาลโดยเฉลี่ย 251.73 นาที (4.20 ชั่วโมง) และผู้ป่วยประเภทที่ 4 คือ ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลในขั้นวิกฤติ (Intensive care) ต้องการปริมาณเวลาการปฏิบัติการพยาบาลโดยตรงเฉลี่ย 268.75 นาที (4.48  ชั่วโมง)
         2.ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด ระยะถอนพิษยา โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ทุกประเภทต้องการปริมาณเวลาการปฏิบัติการพยาบาลโดยตรงในเวรเช้ามากที่สุด เท่ากับ 407.32 นาที (6.79 ชั่วโมง) รองลงมาเป็นเวรบ่าย เท่ากับ 314.51 นาที (5.24 ชั่วโมง) และเวรดึกน้อยที่สุด เท่ากับ 259.78 นาที (4.33 ชั่วโมง)
         3.ปริมาณเวลาการปฏิบัติการพยาบาลโดยอ้อมโดยรวมของบุคลากรทุกระดับปฏิบัติในเวรเช้ามากที่สุด เท่ากับ 729.6 นาที (12.16 ชั่วโมง) รองลงมาเป็นเวรบ่าย 439.08 นาที (7.3 ชั่วโมง) และเวรดึกน้อยที่สุด เท่ากับ 429 นาที (7.15 ชั่วโมง)
         4.พยาบาลวิชาชีพใช้เวลาในการปฏิบัติการพยาบาลโดยตรงและโดยอ้อมมากที่สุด รองลงมาเป็นพยาบาลเทคนิค เจ้าหน้าที่พยาบาล และผู้ช่วยเหลือคนไข้
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >