หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


การตัดสินใจใช้ยาบ้าของผู้เสพติดชายวัยทำงาน พิมพ์
Wednesday, 28 July 2010
เรื่อง    การตัดสินใจใช้ยาบ้าของผู้เสพติดชายวัยทำงาน
ผู้วิจัย    นางสาวเสริมสุข        ราษฎร์ดุษฎี
           นางดุษณีย์        ชาญปรีชา
           นางอภิรดี        พฤกษาพนาชาติ
           นางรุจิรา        อาภาบุษยพันธ์
ปี    2544

บทคัดย่อ
        ปัจจุบันปัญหายาเสพติดได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จนกลายเป็นปัญหาระดับชาติ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของยาบ้า ซึ่งมาเป็นอันดับหนึ่ง โดยขยายวงจากกรรมกรหรือผู้ใช้แรงงานไปสู่กลุ่มนักเรียน นักศึกษา คนว่างงาน และผู้ประกอบอาชีพทุก ๆ อาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ การให้ความหมาย และการตัดสินใจใช้ยาบ้าของชายวัยทำงาน วิธีการศึกษาใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้ป่วยตึกมุกและตึกมรกตในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ จำนวน 8 ราย
ผลการศึกษามีดังนี้
        ประเด็นที่เกี่ยวข้องและส่งผลให้เกิดการตัดสินใจใช้ยาบ้าของผู้เสพติดชายวัยทำงานได้แก่ การขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องโทษพิษภัยของยาบ้า ทำให้ผู้ป่วยมีความเชื่อและทัศนคติต่อยาบ้าไม่เหมาะสม โดยเชื่อว่าการเสพยาบ้าไม่ทำให้ติด และใช้แล้วจะทำงานได้มากขึ้น จึงทดลองใช้
        โอกาสและประสบการณ์ที่ผู้ป่วยได้สัมผัสและคลุกคลีกับกลุ่มผู้ใช้ยาบ้า เมื่อมีโอกาสได้เข้าไปรับรู้และเห็นบ่อย ๆ ถูกเพื่อนชัดชวน บางครั้งต้องการเป็นคนเด่น เท่ส์ เป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มเพื่อน จึงตัดสินใจทดลองใช้
        การที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีการแพร่ระบาดของยาบ้า จนเห็นเป็นเรื่องปกติ เมื่อถูกเพื่อนชัดชวนจึงเข้าไปร่วมเสพโดยง่าย
        การเผชิญความเครียดที่ไม่มีประสิทธิภาพ ปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียด ได้แก่ปัญหาครอบครัวแตกแยก ความขัดแย้งในครอบครัว ภาวะหนี้สิน การขาดผู้ให้คำปรึกษา เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถจัดการกับต้นเหตุของความเครียดได้สำเร็จจึงเกิดพฤติกรรมการใช้ยาบ้าที่ทำให้ความเครียดลดลงได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น
        แนวทางการแก้ไขเพื่อลดปัญหาให้อยู่ในระดับที่มีผลเสียหายต่อสังคมน้อยที่สุด มีดังนี้
        การให้ความรู้แก่ประชาชาโดยผ่านทางสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ เกี่ยวกับโทษและพาภัยของยาบ้า เพื่อลดการอยากรู้อยากลอง การเพิ่มบทบาทของชุมชน ส่งเสริมให้ชุมชนมีการรวมตัวกันเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง ปลุกจิตสำนึกให้ทุกคนเกิดความรับผิดชอบ ป้องกันปัญหายาเสพติดที่อาจเกิดขึ้นกับชุมชนของตนเอง กำจัดแหล่งมั่วสุมและแหล่งอบายมุขต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่ปัญหายาเสพติด และการเพิ่มหน่วยบริการให้คำปรึกษาปัญหายาเสพติดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ การเปิดบริการโทรศัพท์สายด่วนตอบปัญหายาเสพติด และปัญหาที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ที่มีปัญหาได้มีที่ปรึกษาและได้รับความช่วยเหลือที่ถูกต้อง เป็นการแก้ไขและลดปัญหาทางสังคม

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >