หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


การประเมินผลโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยประเมินผล พิมพ์
Friday, 23 July 2010
ชื่อเรื่อง    การประเมินผลโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยประเมินผล
ชื่อผู้วิจัย    นางนันทา    ชัยพิชิตพันธ์
               นางปัญจรัตน์    ศรีสว่าง
               นายกันต์    อวยสวัสติ์
หน่วยงาน    สถาบันธัญญารักษ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ปีงบประมาณ    2544

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลในเรื่องความรู้ ความเข้าใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในเรื่องกระบวนการและระเบียบวิธีวิจัยประเมินผล รวมถึงประเมินประสิทธิภาพหรือผลลัพธ์ โดยประเมินความสามารถในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินผลโครงการที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมรับผิดชอบ และประเมินความคิดเห็นด้านความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมต่อการบริหารโครงการอบรม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของโรงพยาบาลธัญญารักษ์ และศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดภูมิภาคทั้ง 5 แห่ง รวม 32 ราย การวิจัยประเมินผลครั้งนี้ใช้ทฤษฎีประเมินผลการอบรมในรูปแบบ Trainning Apporach ของ Kirkpatrick และการประเมินผลในรูปแบบ Behavioral Objective Approach โดยเน้นการประเมินผลลัพธ์ (Outcome evaluation) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามให้สมาชิกในกลุ่มประเมินความรู้ ความเข้าใจกันเองในเรื่อง ระเบียบวิธีวิจัยประเมินผลการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล แบบสอบถามให้เพื่อนร่วมชั้นประเมินความสามารถในการเขียนเค้าโครงการวิจัยประเมินผล แบบสำรวจหัวข้องานวิจัยฉบับร่าง (โดยอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มเป็นผู้ประเมิน) แบบสำรวจผลสำเร็จของงานวิจัย แบบสำรวจความรู้ในด้านระเบียบวิธีวิจัยของกลุ่มผู้วิพากษ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดและดำเนินการฝึกอบรมทั้ง 3 ระยะ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองเป็นระยะ ๆ ตามกำหนดเวลาในการอบรม ซึ่งการอบรมในหลักสูตรนี้แบ่งการอบรมเป็น 3 ระยะ โดยแบบสอบถามและแบบสำรวจทุกชุด ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงในเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ และคะแนนเฉลี่ยโดยใช้คอมพิวเตอร์ Program SPSS for Windows version 9.01

ผลการศึกษาพบว่า

1.  การประเมินผลความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับการอบรม ปรากฏว่า
      1.1  กระบวนการและระเบียบวิธีวิจัยประเมินผล โดยผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีคะแนนความรู้ ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการและระเบียบวิธีวิจัยประเมินผลอยู่ในระดับรู้ประยุกต์ใช้ซึ่งประเมินว่าผ่านเกณฑ์การประเมินตามตัวชี้วัด
      1.2  การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ Program SPSS for Windows version 9.01 ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีคะแนนความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนั้น คิดเป็นร้อยละ 60.28 ซึ่งประเมินว่าผ่านการประเมินในระดับปานกลางตามตัวชี้วัด
2.  การประเมินผลความสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในงานที่รับผิดชอบของผู้เข้ารับการอบรมได้โดย
      2.1  ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีความสามารถในการเขียนเค้าโครงการวิจัยประเมินผลคิดเป็นร้อยละ 68.75 ซึ่งประเมินผลผ่านเกณฑ์การประเมินตามตัวชี้วัดในระดับปานกลาง โดยเมื่อศึกษารายโครงการแล้ว พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมในโครงการที่สามารถเขียนเค้าโครงการวิจัยประเมินผลได้คะแนนผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัดในระดับดีถึงดีมาก มี 4 โครงการ ได้แก่
            1)  โครงการวิจัยประเมินผลการอบรมวิทยากรการฟื้นฟูสมรรถภาพและส่งเสริมการดูแลตนเองแบบบูรณาการ
            2)  โครงการวิจัยประเมินผลโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยประเมินผลยาเสพติด
            3)  โครงการประเมินผลค่ายเยาวชนต้นกล้า
            4)  โครงการวิจัยประเมินผลการบำบัดรักษาแบบ Matrix Program
และผู้เข้ารับการอบรมที่มีความสามารถในการเขียนเค้าโครงการวิจัย ซึ่งได้คะแนนผ่านเกณฑ์ประเมินตามตัวชี้วัดอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลางมีอยู่ 4 โครงการ ได้แก่
            1)  โครงการวิจัยประเมินผลโครงการบ้านสีขาว
            2)  โครงการวิจัยประเมินผลโครงการชุมชนเข้มแข็ง : บ้านป่าคาสุขใจ
            3)  โครงการวิจัยประเมินผลการเสวนาพลังมวลชนกับมหันตภัยยาเสพติด : การลดอุปสงค์
และมีเพียง 1 โครงการเท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ในระดับต่ำ (ซึ่งนับว่าไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน) คือ โครงการวิจัยประเมินผลสื่อวงกว้าง : ปลดชนวน
      2.2  ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีรายงานความก้าวหน้าของโครงการวิจัย โดยมีคะแนนความสำเร็จจากการทำวิจัยฉบับร่าง คิดเป็นร้อยละ 84.72 ซึ่งประเมินว่าผ่านเกณฑ์การประเมินตามตัวชี้วัดในระดับดีมาก
      2.3  ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ครอบคลุมเนื้อหาคิดเป็นร้อยละ 64.25 ซึ่งประเมินว่าผ่านการประเมินตามตัวชี้วัดในระดับปานกลาง
      2.4  ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องกระบวนการการวิจัยอย่างครบขั้นตอน คือ มีผลงานวิจัยที่สำเร็จ คิดเป็นร้อยละ 90.0 ซึ่งประเมินว่าผ่านเกณฑ์การประเมินตามตัวชี้วัดในระดับดีมาก
      2.5  ผู้เข้ารับการอบรมสามารถวิพากษ์งานวิจัยได้ตามหลักวิชาการ โดยมีคะแนนความถูกต้องในการดำเนินการวิจัยตลอดโครงการ คิดเป็นร้อยละ 87.65 ประเมินว่าผ่านเกณฑ์การประเมินตามตัวชี้วัดในระดับดีมาก
3.  ประเมินความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมต่อการบริหารโครงการอบรม โดยศึกษาจากร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมต่อการบริหารโครงการ ในระยะที่ 1 – 3 พบว่าผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการบริหารโครงการอบรมทั้ง 3 ระยะ คิดเป็นร้อยละ 75.75, 77.25 และ 86.14 ตามลำดับซึ่งประเมินว่าผ่านเกณฑ์การประเมินตามตัวชี้วัดในระดับดีถึงดีมาก

ข้อเสนอแนะ
1.  โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยประเมินผลยาเสพติด ผู้เข้ารับการอบรมเป็นผู้ปฏิบัติงานและดำเนินการวิจัยด้วย จึงขอให้ผู้บริหารในแต่ละองค์กรหรือผู้รับผิดชอบควรจัดสรรเวลาให้กับผู้วิจัยบ้างสัปดาห์ละ 1 – 2 วัน ควรจัดสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับนักวิจัย
2.  ผู้วิจันในโครงการต่าง ๆ ได้จัดทำเครื่องมือในการประเมินผลโครงการทำให้สามารถประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ ผู้วิจัยควรนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่และขยายองค์ความรู้โดยจัดทำเป็นคู่มือการประเมินผลในโครงการต่าง ๆ
3.  การจัดอบรมในหลักสูตรนี้ ควรมีการขยายผลโดยฝึกอบรมทุกปี ปีละ 1 รุ่น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้บุคลากรของโรงพยาบาลมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงการต่าง ๆ ให้สำเร้๗ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้โดยมีวิทยากรให้ความรู้ภาคทฤษฎี และมีวิทยากรแกนนำหรือวิทยากรพี่เลี้ยงเป็นผู้ให้คำแนะนำในช่วงการดำเนินการวิจัย
4.  องค์กรควรจัดสรรงบประมาณให้กับผู้สนใจทำงานวิจัยเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้นักวิจัยสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าต่อไป
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >