หน้าแรก เกี่ยวกับสถาบัน บริการบำบัดรักษายาเสพติด ติดต่อเรา

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)


การปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันของผู้ป่วยในเสพแอมเฟตามีนวัยรุ่นชายระยะถอนพิษยา พิมพ์
Friday, 23 July 2010
ชื่อเรื่อง    การศึกษาการปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันของผู้ป่วยในเสพแอมเฟตามีนวัยรุ่นชายระยะถอนพิษยา โรงพยาบาลธัญญารักษ์ จากการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
รายชื่อผู้วิจัย    นายชัยธวัช    สาทถาพร
                    นางสาวรัตนา    ดีปัญญา
                    นางสมบัติ    มากัน
บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบมีกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันจากการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (One Group portals design) ของผู้ป่วยแอมเฟตามีนวัยรุ่นชายในระยะถอนพิษยาโรงพยาบาลธัญญารักษ์ สัมพันธภาพประกอบด้วย ด้านการยอมรับ ด้านการเข้าถึงความรู้สึกของผู้อื่น ด้านความเชื่อใจ ด้านการเอาใจใส่พร้อมจะช่วยเหลือ และด้านความเป็นตัวของตัวเองและความร่วมกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยในเสพแอมเฟตามีนวัยรุ่นชายที่เข้ารับการบำบัดรักษาครั้งที่ 1 จำนวน 30 คน มีช่วงอายุระหว่าง 13 – 18 ปีบริบูรณ์ จำนวน 30 คน การสุ่มตัวอย่างโดยวิธีแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือทดลองคือ โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มโดยกลุ่มตัวอย่างจะได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มทุกวัน วันละ 1 ครั้ง ๆ  ละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 9 วัน เครื่องมือรวบรวมจ้อมูลคือ แบบสอบถามการปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันซึ่งผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างต่างของค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการให้คำปรึกษา ทดสอบโดยสถิติที (Paired t-test)
    ผลการวิจัยพบว่า
    1.  การปรับตัวเพ่อการอยู่ร่วมกันของผู้ป่วยซึ่งประกอบด้วยด้านการยอมรับ ด้านการเข้าถึงความรู้สึกของผู้อื่น ด้านความเชื่อใจ ด้านการเอาใจใส่พร้อมจะช่วยเหลือ และด้านความเป็นตัวของตัวเองและความร่วมกัน มีการปรับตัวอยู่ในระดับมาก
    2.  ภายหลังการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ผู้ป่วยมีการปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันในด้านความเชื่อใจและความใส่ใจพร้อมจะช่วยเหลือสูงกว่าก่อนให้คำปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( Monday, 11 April 2011 )
< ก่อนหน้า   ถัดไป >